การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในการศึกษา Value-Added Analysis: Concept and Application in Education

Main Article Content

พิชญา ดีมี เอื้อมพร หลินเจริญ

Abstract

บทนำ

                   ในการตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาจำเป็นต้องมีการประเมินผลเพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการบรรลุเป้าหมายจากผลการดำเนินงาน และเป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียนตามระดับช่วงชั้นผ่านทางความรู้ของนักเรียนในช่วงปีสุดท้ายของแต่ละระดับการศึกษา รวมทั้งทำให้ทราบจุดอ่อนหรือปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ซึ่งจะเป็นวิธี การแจ้งให้กับสาธารณชนรับทราบถึงคุณภาพของการศึกษาอย่างตรงไปตรงมาที่สุด โดยส่วนมาก  การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาจะใช้คะแนนสอบของนักเรียนเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพของหลักสูตรที่ใช้ในสถานศึกษาว่ามีคุณภาพและมาตรฐานเพียงใด ซึ่งเป็นค่าที่ได้จากผลรวมของคะแนนที่แท้จริงกับค่าความคลาดเคลื่อนจากการวัด ดังนั้นถ้ามีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น คะแนนที่ได้จากการสอบจึงไม่สามารถบอกความสามารถที่แท้จริงของนักเรียนและคุณภาพของผลลัพธ์ของกระบวนการศึกษา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของนักเรียนที่แต่ละคนต่างมีต้นทุน ติดตัวที่แตกต่างกัน เช่น การได้รับการเลี้ยงดู ความสามารถในการเรียนรู้ ศักยภาพของสมอง เป็นต้น  รวมถึงการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาและสภาพแวดล้อมและทำเลที่ตั้งของสถานศึกษาที่นักเรียนศึกษาอยู่ ต่างส่งผลกระทบต่อการทำคะแนนในแบบทดสอบ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้สถานศึกษามีคุณภาพที่แตกต่างกันได้ ในที่นี้ผู้เขียนจึงขอเสนอวิธีการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นแนวทางที่จะนำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและสามารถบอกคุณภาพที่แท้จริงของสถานศึกษาที่ได้จัดให้กับนักเรียนได้ 

Article Details

Section
Research Articles