การพัฒนาแบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ; The Development of the Creative Writing Lesson for Prathomsuksa 6 students

Main Article Content

วิภาวรรณ แผ้วประสงค์ ; บัญญัติ ชำนำญกิจ Wipawan Phawprasong ; Banyat Chamnankit

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และ เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาภาษาไทย ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดมหาโพธิใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  1) แบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด  2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นแบบอัตนัย จำนวน 4 ฉบับ แต่ละฉบับมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89, 0.75, 0.68 และ 0.87 โดยผู้วิจัยคัดเลือกข้อสอบที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป ไปตรวจสอบคุณภาพโดยนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษา   ปีที่ 6 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ตรวจให้คะแนน และนำข้อสอบชุดเดิมไปทดลองกับกลุ่มเดียวกัน โดยเว้นช่วงห่าง 1 สัปดาห์ นำคะแนนที่ได้จากการทดลองมาตรวจวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบทดสอบแต่ละฉบับโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ของเพียร์สัน  3) แบบสอบถามวัดเจตคติต่อวิชาภาษาไทย มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.73

                ผลการวิจัยพบว่า 

                1. แบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพโดยรวม คือ 82.59/84.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด  

                2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์มีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ มีเจตคติต่อวิชาภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

                The purposes of this research were to  1) create and find out the efficiency of the creative writing lessonfor Prathomsuksa six students taught by using this lesson,  2) compare the students’ ability in writing creatively before and after the lesson, and  3) compare the attitudes of the Prathomsuksa 6 students towards Thai language before and after this creative writing lesson. The samples were 31 Prathomsuksa 6 students of the first academic year 2010 at Wat Mahapottai School, The Basic Educational Service Area 1, Nakhon Sawan province. The research instruments were  1) the lesson of creative writing skill certified by 3 experts with the approplate at the highest level,  2) the test paper on creative writing skill in essay format of 4 different forms with validity values of  0.89, 0.75, 0.68, and 0.87 respectively  3) the attitude test towards Thai language in rating  scale comprising 20 items with validity of 0.73

                The results of the research were as follows:

                1. The creative writing lesson had the effectiveness value of 82.59/84.79 which is higher than the 80/80 criterion.

                2. The Prathomsuksa 6 students taught by this lesson scored higher in the post-test with statistically significance at .05

                3. The Prathomsuksa 6 students taught by this lesson marked higher positive attitudes towards learning Thai language after the trial with statistically significance at .05 

Article Details

Section
Dissertations