ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพทางเพศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดนครสวรรค์; Factors Affecting Sexual Health Behavior in Students of Junior High Schools in Nakhon Sawan Province

Main Article Content

ฐิติมา เพชรสัมฤทธิ์ ; ไชยรัตน์ ปราณี ; สุพัฒนา หอมบุปผา Thitima Phetsumrit ; Chairat Pranee ; Supattana Hombubpha

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพทางเพศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนที่กาลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2556 จานวน 400 คน ซึ่งได้จาก การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามและแบบวัดความรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอย หพุคูณ ด้วยวิธี Stepwise ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพทางเพศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เกรดเฉลี่ยสะสมส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 3.01-3.50 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับบิดา มารดา เศรษฐฐานะของครอบครัว เฉลี่ย 5,001-10,000 บาท ต่อเดือน รูปแบบการเลี้ยงดูเป็นแบบประชาธิปไตย พฤติกรรมการคบเพื่อนและการบริโภคสื่ออยู่ในระดับปฏิบัติมาก ทัศนคติเรื่องเพศอยู่ในระดับมาก และความรู้เรื่องเพศส่วนใหญ่ตอบถูก
2. การบริโภคสื่อ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพทางเพศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มากที่สุด ส่วนการคบเพื่อน ทัศนคติเรื่องเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความรู้เรื่องเพศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพทางเพศ เป็นระดับรองลงมา
3. การบริโภคสื่อ (X6) การคบเพื่อน (X5) และทัศนคติเรื่องเพศ (X7) เป็นปัจจัยที่ร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมสุขภาพทางเพศได้ร้อยละ 44.10 โดยเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
Y = 0.425 + 0.486X6 + 0.235X5 + 0.121X7
Z = 0.374 Z X 6 + 0.293 Z X 5 + 0.132 Z X 7

Abstract
This research was conducted with the objective of studying factors affecting sexual health behavior of junior high school students in Nakhon Sawan province. The samples are students from junior high schools in the area of Nakhon Sawan province totaling 400 people. The tools used in the study were 5- point rating scale questionnaires about threat, friend association, media consumption and sexual attitude and a test on knowledge about sex education. Analysis of data was done by using computer programs for frequency, percentage, means, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient and multiple regression by stepwise method.
The result of the research revealed that factors that effected the sexual health behavior of junior high school students in Nakhon Sawan province were media consumption (X6), friend association (X5) ,and sexual attitude (X7). Together to make a set of prediction of the sexual health behavior, the resulting value was 44.10 and the equations for prediction are as follows:
Y = 0.425 + 0.486X6 + 0.235X5 + 0.121X7
Z = 0.374 Z X 6 + 0.293 Z X 5 + 0.132 Z X 7

Article Details

Section
Academic Articles