ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความภาคภูมิใจในตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในพื้นที่ชายขอบ จังหวัดเชียงราย; Causal Factors Affecting Self Esteem of Pratomsuksa 6 Students in Border Area of Chiangrai Province

Main Article Content

ชุติกานต์ หาญชนะ ; สุชาติ ลี้ตระกูล ; ปรมินทร์ อริเดช Chutikarn Hanchana ; Suchat Leetagool ; Poramin Aridech

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงสาเหตุกับความ
ภาคภูมิใจในตนเอง 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของปัจจัยเชิงสาเหตุของโมเดลที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิง
ประจักษ์ และ3)เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 ในพื้นที่ชายขอบจังหวัดเชียงราย โดยใช้โมเดลลิสเรล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในพื้นที่ชายขอบ จังหวัดเชียงราย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จานวน 635 คน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุกับความภาคภูมิใจในตนเอง ปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับความภาคภูมิใจในตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในพื้นที่ชายขอบ จังหวัดเชียงราย
โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกสูงสุด อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ สภาพแวดล้อมในโรงเรียน
2. การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุของความภาคภูมิใจในตนเอง พบว่า เมื่อมีการปรับโมเดลแล้วปรากฏว่า
โมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ ( 2  ) เท่ากับ 8.56ที่ชั้นความเป็นอิสระ 38
มีค่าความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 1.00 ซึ่งไม่มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ใช้ ในการพิจารณา
ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 1.00 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI)
เท่ากับ .99 ซึ่งสูงกว่า.90 และเข้าใกล้ 1 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาและค่าดัชนีรากกาลังสองเฉลี่ยของ
ค่าความแตกต่างโดยประมาณ(RMSEA) เท่ากับ .00ซึ่งต่ากว่า .05 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาแสดงว่า
รูปแบบความสัมพันธ์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยค่าสถิติวัดระดับความสอดคล้อง
กลมกลืนผ่านเกณฑ์ทุกค่า
3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความภาคภูมิใจในตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ในพื้นที่ชาย
ขอบ จังหวัดเชียงรายสูงสุด คือปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความภาคภูมิใจในตนเอง
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในพื้นที่ชายขอบ จังหวัดเชียงรายสูงสุด คือ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

Abstract
This research aimed to study the correlation between causal variables and the self esteem, to examine the goodness of fit model of causal relationship of the constructed model with the empirical data and to analyze the factors affecting the total, direct and indirect effect to the self esteem of Prathomsuksa 6 students in the border area of Chiang Rai province by using LISREL model. The sample group of this reserch was 635 Prathomsuksa 6 students in the border area of Chiang Rai province in the second semester of the academic year 2013. The results of the study can be concluded as follows:
1. The analysis of correlation between causal variables and the self esteem. It appeared that the school environment had the highest positive correlation with the self esteem of PrathomSuksa 6 students in the border area of Chiang Rai province at the statistically significant level of .01.
2. The analysis of causal relationship model of the self esteem. When adjusted the model, it was found that the model fitted with the empirical data by considering from Chi-square (2= 8.56 ,df = 38) with the probability of 1.00 and it showed no statistically significant difference at the.05 level which was based on the criteria. The goodness of fit index: GFI was 1.00, and the adjusted goodness of fit: AGFI was .99 which was higher than .90 near 1.00 and based on the criteria, while the root mean square error of approximation: RMSEA was .00 which was lower than 0.50 and based on the criteria. These showed that the model fitted with the empirical data because all of the goodness of fit statistical values could pass the criteria.
3. The analysis of the total, direct and indirect effect. It appeared that the family was the most important factor of the total and direct effect affecting the self esteem of Prathomsuksa 6 students in the border area of Chiang Rai province while the factor which indirectly affected to the self esteem of Prathomsuksa 6 students in border area of Chiang Rai province was the school environment.

Article Details

Section
Academic Articles