2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่ การจัดการสวัสดิการชุมชน ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2) ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบและออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ บันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
1) สภาพการณ์มีกำลังการผลิต มีแหล่งที่วัตถุดิบ แต่จะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับรูปแบบ การบรรจุภัณฑ์ การจัดจำหน่าย การประชาสัมพันธ์ และกลุ่มลูกค้า ซึ่งกลุ่มมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พบว่า มีการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้ชื่อว่าปลูกฮักสานใจ๋ ซึ่งมีการสร้างตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ในแนวความคิดเกี่ยวกับความสงบสุขของชุมชมความรู้สึกผูกพัน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ใช้หลักเกณฑ์ออกแบบคือ ความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ความหลากหลาย ความสะดวกในการใช้สอย และเน้นวัสดุธรรมชาติ 3) การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้มีการดำเนินการออกแบบสื่อในรูปแบบเพจเฟซบู๊ค โดยใช้ชื่อปลูกฮักสานใจ๋ตามชื่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์
Article Details
References
Amornpinyo, S. (2021). Enhancement the creative products by participatory action research
community enterprise group, Ban kong nang farmer housewives group,Thabo district, Nong
khai province. Journal of Management Science Udon Thani Rajabhat University, 3(6):
-121.
Chiang Rai Provincial Office. (2017). Chiang Rai Province Development Plan 2018-2022.
Chuwit, M. (2010). “Creative economy. Ideas for driving the Thai economy in the next decade,”
Sukhothai Thammathirat Open Economics, 5(1), 84.
Mccathy & Pereault, Jr. (1991). Basic Marketing. New York: Mc Graw-Hill.
Pongpanarat, K. (2019). Hamp and creative and sustainable development of community
products. Environmental Journal, 23(3), 1-3.
Pornpipat, P. (2010). Creative economy, the new driving force of the Thai economy. Journal of
Economics and Society. 47(4), 6-12.
Rodplang, P. ( 2021). The developing online marketing channels of Ngob products basketry products
group Ngobihai-Lanonegeaw Thong-En Inburi District Singburi Province. Journal of Social
Science and Buddhistic Anthropology, 6(3), 35-45.
Hassaro, K. (2021). Online Marketing Strategies That’s Influence Community Enterprises Success.
[Doctor of Philosophy]. Mahasarakham University.
Inkong, P. (2017). Cultural product design: concepts, models, and analysis. Bangkok: Unlimit
Printing.
Sarasuk, K.P. (2018). How to apply design thinking process as a tool for creating a prototype bag
from Tai-lue handwoven fabric remnants. Veridian E-Journal, Silpakorn University,
(4), 865-878.
Sirimathep, P & Khunatsungnoen, D. (2021). Upgrading the products of one subdistrict, one food
product of the Nong Khun women's housewives community enterprise group. Kham Thale
So Subdistrict Kham Thale So District Nakhon Ratchasima Province. Nakhon Ratchasima
Research Document: Rajamangala University of Technology Isan.
Suksod, T. (2001). Industrial product design. Bangkok: Odeon Store.
Zande, R.V. (2010). Teaching design education for cultural, pedagogical, and economic aims.
Studies in Art Education, 51(3), 248-261.