10 ความต้องการและแนวทางการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการและแนวทางพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 102 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา การบริหารหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) ความต้องการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการปรับตัว 2) แนวทางการพัฒนาทักษะอาชีพ สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า สถานศึกษาควรมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความยืดหยุ่น มีกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้มีการฝึกปฏิบัติจริง มีการบูรณาการจากทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมทักษะอาชีพในโรงเรียน
Article Details
References
SRISA – ARD, B. (2017). Preliminary Research (10th ed.). Bangkok: Sureewiyasan .
Bunthongkaew, S. (2020). Development of school management model to develop vocational skills for students In schools under Surat Thani Elementary Education Area Office District 2.[Master of Education Program in Education Administration]. Suratthani Rajabhat University.
Ministry of Education. (2008). Core Basic Education Program B.E. 2551. Bangkok: Parcel Delivery Organization Printing House.
Ministry of Education. (2018). Guidelines for enhancing skills and enhancing professional
Experience for students. Bangkok: Office of Academic Affairs and Educational
Standards.
Nokkaew, P. (2021). Life and Career Skills in the 21st Century of Junior High School Students Grade 9 in Samut Prakan Province. [Master of Education Program in Education Administration]. Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
Neelayothin, A. (2016). Indicators of student skills in the 21 century for basic education: development Structural relationship models. [Doctor of Education Program in Education Administration]. Mahamakut Buddhist University.
Office of High School Administration (2017). Propulsion Thai Secondary Education 4.0 for Employment in the 21 Century. Bangkok: Cooperative Assembly of Thailand.
Panich, V. (2012). How to Build Learning for Students in the 21 Century. Bangkok: Sodsri-Saritwong Foundation.
Poona, K. (2019). Policy proposals on education management to enhance vocational skills for Secondary school students in Chiang Rai Special Educational Opportunity Extension School. Journal Graduate Studies, Chiang Rai Rajabhat University, 9(1), 135-148.
Phetchabun Elementary Education Service Area Office 1. (2023). Annual Action Plan 2023 Phetchabun: Policy and Planning Group of the Phetchabun Elementary Education Service Office 1.
Samut Sakhon Provincial Office. (2017). Samut Sakhon Province Briefing. Samut Sakhon: Samut Sakhon Provincial Office.
Sirilak, V. (2014). Development of indicators of student skills in the 21 century. [Master of Education Program in Educational Research and Evaluation]. Naresuan University.