9 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกระบวนการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมการรู้คิดเชิงระบบสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

SROUNGPORN KUSOLSONG

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดลองการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกระบวนการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมการรู้คิดเชิงระบบเป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 3 ขั้น ขั้นที่ 1 ศึกษาและสังเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนารูปแบบ ขั้นที่ 2 พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 การประเมินความพึงพอใจการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดการรู้คิดเชิงระบบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และแบบประเมินความพึงพอใจกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จำนวน 23 คน โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design ใช้สถิติทดสอบค่า t (t-test)และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า
1) การศึกษาและสังเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาการรู้คิดเชิงระบบมี 5 ด้าน (1) การสร้างแบบแผนการคิด (2) การคิดวางแผนเชิงระบบ (3) การตรวจสอบตนเอง (4) การสร้างพลังแห่งตน (5) การสะท้อนการเรียนรู้อย่างเชื่อมโยงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ ขั้นวางแผนการเรียนรู้ ขั้นเรียนรู้จากการปฏิบัติ ขั้นทบทวนการเรียนรู้ ขั้นสรุปองค์ความรู้ ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ และขั้นสะท้อนความคิด 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 6 องค์ประกอบคือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) กระบวนการเรียนการสอน (5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ (6) การวัดและประเมินผล ผลการทดลองพบว่าหลังการจัดการเรียนรู้นักศึกษามีการรู้คิดเชิงระบบสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยการสะท้อนคิดมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( x= 4.49)

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: คุรุสภา

กัลยาแม้นมินทร์. (2558). การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน: คู่มือสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนสุดาสยามบรมราชกุมารีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์.

จักรกฤษณ์ จันทะคุณ. (2562). โครงการการพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหวสำหรับโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวด้วยการจัดการความรู้: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35.

พัชรี ผลโยธิน และคณะ. (2550). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดไฮสโคป. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

รักชนก โสอินทร์. (2562). การพัฒนาการคิดเชิงระบบโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานรายวิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สราวุธ พัชรชมพู. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงระบบสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 7, 117-132.

สรวงพร กุศลส่ง และฐิติโชติ กุศลส่ง. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงการโดยใช้ ICT เพื่อส่งเสริมความสามารถในการรู้คิดเชิงระบบสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11, 142-169.

สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). มาตรฐาน ตัวบงชี้. (online). www.mua.go.th.

Checkland P. (2019). Sypstems Thinking, Systems Practice. Chichester, UK: John Wiley & Sons Ltd

Hohmann, M. & Weikart, D.P. (1995). Educating Young Children.United States of America :High/Scope Press.

Kreutzer, J.M.G.(2001). Foreword: Systems Dynamics in education. System Dynamic.Reviev, 9(2), 101-112.

Richmond, B. (2000). Toolbox reprint series: The thinking in systems thinking seven essential skills. Waltham Pegasus Communications.

Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday.

Sternberg, R.J. &Grigorenko, E.L. (2007). Teaching for Successful Intelligence.2nd.Thousand Oaks, CA: Corwin Press.