8 การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำสำหรับนักศึกษาปฐมวัยโดยใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

NITHINARTH UDOMSAN

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำและการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 2) เพื่อทดลองและการประเมินผลการใช้คู่มือการส่งเสริมภาวะผู้นำและการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาที่มีต่อภาวะผู้นำของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ คู่มือการส่งเสริมภาวะผู้นำโดยใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา แบบทดสอบก่อนและหลังฝึกอบรมการจัดกิจกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และค่า t – test โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมภาวะผู้นำและการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาที่มีต่อภาวะผู้นำของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยในจังหวัดร้อยเอ็ด   มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา 2) ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้คู่มือ การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำและการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย การจัดกิจกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากท่ามพสุด (x = 4.63)

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

NITHINARTH UDOMSAN, ืnoi021229

ไทย

References

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ และพัชรัตน์ ลออปักษา. (2561). รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจาก โรงเรียนอนุบาล สู่โรงเรียนประถมศึกษา : บทบาทของผู้ปกครอง. http://pecerathailand.org/assets/article/

ResearchArticle-EL02.pdf.

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2557). การเป็นผู้นำทางการศึกษาปฐมวัย. http://www.pecerathailand.org/2018/01/307.html

จุฑามณี เสาระโส. (2560). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความมีวินัยในตนเอง ตามแนวคิด จิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพน์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

ชิตาพร เอี่ยมสะอาด และพัชรินทร์ จันทร์ส่อง. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการโค้ชตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียน ของนักศึกษาวิชาชีพครู. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์ และคณะ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 210-212.

พัชรินทร์ จันทร์ส่อง. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการโค้ชตามแนวคิด

จิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

พัชรินทร์ พันธ์โตดี (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลบริหารงาน วิชาการระดับปฐมวัยของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมาเขต 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

รักษิต สุทธิพงษ์ .(2562). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคทางจิตตปัญญาศึกษาในรายวิชาปรัชญา การศึกษาเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบทางการเรียนของนิสิตวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขต ปัตตานี, 30(3), 30-41

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 11). สุวีริยาสาส์น.

อุไรวรรณ ศรีศักดิ์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

Gorton, R. A. (1983). School administration and supervision. Wm. C. Brown Company Publishers.

Gorton, R. A. (1981). School administration and supervision : Important issues, concepts and case studies. Wm. C. Brown Company Publishers.

Hoy, W. K. and Miskel, C. G., (1982). Educational administration. (2nd ed). Random House Inc.

Krajewski, R. J., Martin, J. S. and Walden, J. C. (1983). The elementary school principalship. CBS College Publishers.

Morrison, G. S. (2000). Fundamentals of early childhood education. (2nd ed). Prentice Hall, Inc.