ปัจจัยที่มีผลต่อการเสพยาบ้าของทหารกองประจำการกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ดาริกา นวลศิริ
ณรงค์ ณ เชียงใหม่
จิติมา กตัญญู

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสพยาบ้าของทหารประจำการ กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือทหารกองประจำการผลัดที่ 1 ปีพ.ศ.2554 กองบิน 41 จังหวัด เชียงใหม่ จำนวน54คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

ปัจจัยที่มีผลต่อการเสพยาบ้าของทหารกองประจำการมากที่สุดคือปัจจัยทางด้านสังคมพบว่า กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลมากที่สุดที่นำไปสู่การเสพยาบ้าร้อยละ 53.7 และพบว่าการสูบบุหรและดื่มสุราเป็นสิ่ง ที่ทำให้ง่ายต่อการคิดเสพยาบ้าเนื่องจากพบว่าทหารกองประจำการที่เสพยาบ้ามีประวํติสูบบุหรและดื่ม สุราร้อยละ 98.1 และ 96.3 ตามลำดับ ด้านปัจจัยครอบครัว พบว่า บุคคลในครอบครัวไม่มีเวลาให้ ส่งผลให้มีความเลี่ยงในการเสพยาบ้าเนื่องจากพบว่าบิดามารดามีอาชีพรับจ้างมากที่สุด บิดาร้อยละ 42.6 ส่วน มารดาร้อยละ 33.3 และพบว่า บุคคลใดมีสามปัจจัยเชื่อมโยงกัน ก็จะส่งผลให้พบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่การเสพยาบ้ามากขึ้น

นอกจากนี้ ยังพบว่า การที่ได้เข้ามาเป็นทหารกองประจำการมีผลที่ดีอย่างมากในการเปลี่ยน ทัศนคติและแรงจูงใจที่จะเลิกเสพยาบ้าของทหารกองประจำการมีสูงมากขึ้น รวมถึงการที่ต้องอยู่ใน กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆของทหารช่วยให้สามารถเลิกเสพยาบ้าได้

 

Abstract

This research aims to examine factors affective amphetamine addiction of enlisted men in Wing 41, Chiang Mai. The samples included 54 persons. The tool applied for data collection was a questionnaire created by the researchers. The researcher collected the information personally.

The result suggested that the factor that mostly affected to amphetamine addiction of stationed airmen was social factor. If was found that friends had the highest influence that lead to amphetamine addiction, 53.7%. It was found that smoking and drinking alcohol contributed to amphetamine addiction since addicted airmen had smoking and drinking background at 98.1 and 96.3 percent respectively. About family factor, it was found that the lack of attentiveness of family members increased the risk of amphetamine addiction since this was mostly found in the families that the parents were employees, namely father 42.6% and mother 33.3%. These three factors are related. If the three factors support each other, it will possibly lead to amphetamine addiction. Enlisted men has positive in that the attitude to quit taking amphetamine of them increases. In addition, military regulations help them stop taking amphetamine.

Article Details

Section
Academic Articles