รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และสร้างรูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมอำเภอลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 34 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่องค์กรในท้องถิ่นและภาครัฐ ผู้นำชุมชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า
ผลการวิจัยพบว่า สภาพของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีการสื่อสารการตลาด 5 ช่องทาง ได้แก่ สื่อโฆษณา สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ อินเทอร์เน็ต สื่อบุคคล รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ๙ นั้นประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ การสร้างอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ การใช้กลยุทธ์การสื่อสารผ่านเครื่องมือสื่อสารการตลาด การสร้าง เครือข่ายการท่องเที่ยว การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน การประมวลผลและส่งข้อมูลย้อนกลับ
Abstract
This study examined the state of integrated marketing communication for cultural tourism in the Lab-Lae district, uttaradit province and to form an integrated marketing communication model to promote cultural tourism in the Lab-Lae district, uttaradit province. Those who provided information for the study were 34 entrepreneurs, officers in local organizations and government sectors, community leaders, residents, and tourists. The data was collected through in-depth interviews and focus-group discussions. Triangulation was then used to analyze the data.
The study revealed that the state of integrated marketing communication for cultural tourism in the Lab-Lae district, uttaradit consisted of five channels of marketing communication: advertising media, print media, internet media, personal media, and public relations media. The integrated marketing communication model to promote cultural tourism in the Lab-Lae district, Uttaradit province consisted of six aspects: forming an identity of tourist attractions, integrated marketing communication, using communication strategies via marketing communication tools, tourism networking, clear target analysis, and data processing and feedback.