การพัฒนากระบวนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การคิดโดยใช้การวิจัยเป็นฐานในการสร้างองค์ความรู้ สำหรับครูประจำการ

Main Article Content

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ทดลองใช้ และศึกษาความคิดเห็นของครูประจำการต่อ กระบวนการส่งเสริมการจัดการเรยนรู้การคิดโดยใช้การวิจัยเป็นฐานในการสร้างองค์ความรู้โดยดำเนินการ วิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) พัฒนากระบวนการส่งเสริมการจัดการเรยนรู้การคิด 2)ทดลองใช้และ 3)ศึกษา ความคิดเห็นของครูประจำการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยสรุปว่า

1. กระบวนการพัฒนาขึ้นมี 8 ขั้น คือขั้น 1) สร้างความตระหนัก 2) พัฒนาความรู้ผู้เข้ารับการอบรม 3) วางแผนปฏิบัติงานวิจัย 4) พัฒนานวัตกรรมและเครื่องมือ 5) ปฏิบัติการใช้นวัตกรรม 6) สังเกต และสะท้อนผลการวิจัย 7) สรุปผลการวิจัย และ 8) ขยายผลการวิจัย

2. ครูประจำการมีระดับความรู้ความเข้าใจการจัดการเรยนรู้ที่ส่งเสริมการคิด ก่อนการทดลองอยู่ ในระดับน้อยและหลังการทดลองอยู่ในระดับมาก

3. ครูประจำการมีระดับความรู้ความเข้าใจการจัดการเรยนรู้ที่ส่งเสริมการคิดหลังการทดลองสูง กว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ครูประจำการมีความสามารถในการจัดการเรยนรู้ที่ส่งเสริมการคิด โดยรวมและรายบุคคลอยู่ ในระดับมาก

5. ครูประจำการมีความคิดเห็นต่อกระบวนการที่พัฒนาขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก

 

Abstract

The purposes of this research were to develop and implement the process to promote thinking and learning using research-based learning to construct a body of knowledge for teachers. There were three steps in the research procedure: 1) develop the process; 2) implement the process; and 3) evaluate the teachers' opinion of the process. Percent, arithmetic means, standard deviation and T-test were employed in data analysis.

The research findings were:

1. The process to promote the thinking and learning using research-based learning to construct body of knowledge for teachers consists of eight steps: 1) to raise awareness; 2) to develop knowledge; 3) to plan for research; 4) to develop innovation and research tools; 5) to implement the innovation; 6) to observe results and reflect on the findings; 7) to summarize the findings; and 8) to extend the findings.

2. The pre-test level of teachers' knowledge were at a low level and post-test level of teachers' knowledge were at a high level.

3. The post-test mean scores of teachers' knowledge were higher than pre-test.

4. The post-test mean scores of teachers' abilities to promote thinking and learning were at a high level.

5. The mean scores of teachers' opinions of the process were at a high level.

Article Details

Section
Academic Articles