การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ The curriculum of parental development to enhance EF cognitive development of early childhood in child development centers of Krokphar Nakhon Sawan
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และหาประสิทธิผลของหลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 45 คน ใช้เวลาในการทดลอง 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบียนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) ออกแบบและพัฒนาหลักสูตร 3) ทดลองใช้หลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรมีคุณภาพในระดับดี มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ สามารถนำไปใช้ได้จริง 2. องค์ประกอบของหลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ประกอบด้วย 1) หลักการของหลักสูตร 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) เนื้อหาสาระของหลักสูตร 4) การจัดกิจกรรม 5) สื่อ 6) การประเมินผล 3. ประสิทธิผลของหลักสูตรจากทดลองใช้พบว่า ผลการเปรียบเทียบความรู้ในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการฝึกอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ผลการประเมินความสามารถของผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัยหลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก และผลคะแนนเจตคติของผู้ปกครองที่มีต่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับดี
The purposes of the study were: Develop curriculum of parental development to enhance EF cognitive development of early childhood in child development centers of Krokphar Nakhon Sawan and evaluate the efficiency of curriculum of parental development to enhance EF cognitive development of early childhood.
The sample group was 45 parents of early childhood in child development centers of Krokphar Nakhon Sawan. The experimental duration was 12 hours.The research instruments consisted of interviews questionnaires and sets of test. By Proceeding on these process the following 3 methods are required: 1) studying and analyzing the basic data, 2) Planning the curriculum, 3) Undertaking the experiment in the practical field. The data were statistically analyzed by mean, standard deviation t-test. It was found that; 1. The curriculum was developed whit good quality, it is appropriate and met the needs of parental, applicable for the development to enhance EF cognitive for early childhood. 2. The curriculum was consisted of principles, objective, content, methodologies, materials and evaluation. 3. It was also investigated that by comparing the before and after of the training. It was discovered that there was a significant change up to .01. The ability of parental development to enhance EF cognitive development of early childhood after the training at high level. The attitude of parental development to enhance EF cognitive development of early childhood after the training at high level.
Article Details
References
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560). เอกสารประกอบการอบรมเรื่อง การใช้แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. ศูนย์วิจัยประสาทวิยาศาสตร์. สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลมหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญเลี้ยง ชุมทอง. (2554). การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ = Learning mathematics research. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาหลักสูตรร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (Research methodology in behavioral sciences). กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สุภาวดี หาญเมธี. (2559). EF ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ ExecutiveFunction. กรุงเทพฯ: สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ทางด้านดนตรี ในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17 (2), 37-48.
อารีรักษ์ มีแจ้ง และสิริพร ปาณาวงษ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12 (2), 17-31.
อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. (2555). การพัฒนาทักษะการคิดระดับสูง: Developing Higher Thinking Skills. นครปฐม ไอ คิว บุ๊คเซ็นเตอร์.
Diamond and Lee. (2011). Interventions Shown to Aid Executive Function Development in Children 4-12 Years Old. Science, 333.
Dawson, P., and Guare, R. (2014). “Interventions to promote executive development in children and adolescents.” In Handbook of executive functioning, 427-443. Edited by Goldstein, S. and Naglieri, J. A. New York: Springer.