การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะสมองของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย The Development Learning Process Brain skills of Early Childhood Students By Drama Activity and role play

Main Article Content

สุชานาฏ ไชยวรรณะ Suchanad Chaiwanna
อนงค์นารถ ยิ้มช้าง Anongnat Yimchan

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อ 1)เพื่อสร้างและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมองของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมองของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมุติ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาได้รับกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมองของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมองของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ แบบประเมินทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัย แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาได้รับกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการประเมินคุณภาพของการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.47)

  2. ทักษะสมองของนักศึกษา หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 4.65 สูงกว่าก่อนเรียนซึ่งมีค่าเฉลี่ย 2.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อเปรียบเทียบทักษะสมอง EF (Executive Functions) หลังเรียนของนักศึกษาระหว่างกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ย 4.65 สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการทดลอง ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 2.23 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

  3. ความพึงพอใจที่มีต่อในใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ อยู่ในระดับ มากที่สุด(=4.54)

Article Details

Section
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ :
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรรณิการ์ พงศ์เลิศวุฒิ. (2547). ผลของการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบละครสร้างสรรค์ต่อความมี
วินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา
ปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2536). หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล และคณะ. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมิน
การคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์
สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็ก
และครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล.
วราภรณ์ วัจนะพันธ์. (2542). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้นาฎศิลป์และการละคร.
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏภูเก็ต.
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุภาวดี หาญเมธี. (2559). พัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยการอ่าน. กรุงเทพฯ : บริษัท ไอดี ออล ดิจิทัล
พริ้นท์จำกัด (สำนักงานใหญ่).
สุวิทย์ มูลคำ. 2547. กลยุทธ์การสอนคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Baddeley, A. and S. Della Sala. (1996). "Working memory and executive control." Philos Trans R
Soc Lond B Biol Sci, 351(1346): 1397-1403; discussion 1403-1394.
John Dewey. 1969. Philosophy Education, and Reflective Thinking. In Thomas O. Buford
Toward a Philosophy of Education. New York: The Macmillan Company
Vygotsky, L.S. 1978. Mind in Society: The Development of Higher Psychological
Processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.