การศึกษาการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาความขัดแย้งและวิธีการจัดการความขัดแย้งและความสัมพันธ์ของปัญหาความขัดแย้งและวิธีการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จำนวน 52 ราย ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดย ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 มีปัญหาความขัดแย้ง โดยรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคล มากที่สุด รองลงมา คือ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มงาน และปัญหาความขัดแย้งระหว่างโรงเรียนกับบุคคลหรือหน่วยงาน
2. ผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 มีการจัดการความขัดแย้งแบบร่วมมือ มากที่สุด รองลงมา คือ การจัดการความขัดแย้งแบบประนีประนอมและการจัดการความขัดแย้งแบบการยอมให้
3. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาความขัดแย้งกับวิธีการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 พบว่า ปัญหาความขัดแย้งกับวิธีการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กัน (.073) อยู่ในระดับต่ำ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Abstract
The objectives of this study were to study relationship between conflict problems and approach to manage the conflict in schools under the Secondary Education Service Area Office 42. The research participants were 52 administrators in schools under the Secondary Education Service Area Office 42, selected by simple random sampling. Data collection was done by using a 5 – point rating scale questionnaire. Data analysis was done through percentage, means (), standard deviation (S.D.) and Pearson’s Product Moment Correlation.
The results of the study revealed as follows:
1. The conflict problems of schools under the Secondary Education Service Area Office 42 as a whole were at a low level. According to each scale the highest three were interpersonal conflict problem, conflict problem between work groups and conflict problem between school and an individual or organizations.
2. The approach to manage the conflict in schools under the Secondary Education Service Area Office 42 starting from the highest three aspects were cooperative, compromise and submissive conflict management.
3. Relationship between conflict problems and approach to manage the conflict in schools under the Secondary Education Service Area Office 42 showed no statistical significance. The relationship with approach to manage the conflict and of administrators in school showed a very low level of overall relationship between -0.119 to 0.248. The conflict problems between school and an individual or organizations about an approach to manage the conflict had more positive relation than other conflict problems.