ผลการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออก บ้านวังกรด ตำบลสำโรงชัย อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ชาติ ศรีสุข
วุฒิชัย ประภากิตติรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ก่อนและหลังได้รับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านวังกรด ตำบลสำโรงชัย อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่มและมีการเก็บข้อมูลก่อนและหลังเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 2 ประเภท ประเภทที่ 1 เครื่องมือวัดตัวแปรประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) แบบทดสอบความรู้ เรื่อง โรคไข้เลือดออก 3)แบบวัด ทัศนคติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 4) แบบวัดการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และ 5) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประเภทที่ 2 คือ นวัตกรรมแบบมีส่วนร่วม ซึ่งตรวจสอบแผนกิจกรรมจากการสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ หมู่ที่ 4 บ้านวังกรด ตำบลสำโรงชัย อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 71 หลังคาเรือนที่ได้จากการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยการใช้สูตรของยามาเน่ ด้วยการจับสลากรายชื่อหลังคาเรือน จากนั้นกำหนดตัวแทนหลังคาเรือนละ 1 คน จำนวน 71 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยตัวแปรทั้ง 4 ตัว ด้วยสถิติ Paired t-test

ผลการวิจัย สรุปได้ว่าหลังได้รับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกสูงกว่าก่อนได้รับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

The purpose of this research was: to compare knowledge, attitude, practice and participation for prevention and control of dengue hemorrhagic fever before and after using community participatory learning program in Wangkrot Village Samrongchai Sub-district, Phisali District, Nakhon Sawan Province.

Research tools were in 2 types. The first type comprised questionnaires: 1) A general data of population questionnaire. 2) A knowledge of dengue hemorrhagic fever questionnaire. 3) An attitude of prevention and control of dengue hemorrhagic fever questionnaire. 4) A practice of prevention and control of dengue hemorrhagic fever questionnaire. And 5) A participatory of prevention and control of dengue hemorrhagic fever questionnaire. The second type comprisecd community participatory learning programs.

The results of the study showed that after the experiment, the study group had significantly better knowledge, attitude, practice and participation for prevention and control of dengue hemorrhagic fever than before the experiment at the .05 level.

Article Details

Section
Academic Articles