ผลการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบโฟร์แมทที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ญาสุมน พรหมพิทยาจารย์
นวลศรี ชำนาญกิจ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อศึกษาผลการเรียนของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบโฟร์แมท ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบโฟร์แมท

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบโฟร์แมท ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.33 - 0.66 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 – 0.47 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85

ผลการวิจัยพบว่า

1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบโฟร์แมทที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม มีจำนวนร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด

2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบโฟร์แมทมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the number of students taught by the 4 MAT that passed 75 % of the total score, 2) to compare mathematics achievements of the students taught by 4 MAT between before and after learning.

The samples of this study composed of 30 Prathom 2 students in the second semester of academic year 2012 at Wat Jomkhiri Nak Phrot School, Amphor Muang, Nakhon Sawan Province.

The instruments used in the research were 1) the 4 MAT lesson plans approved by 3 specialists, 2) the Mathematics achievement test on the exponents with 20 items, 3 multiple choices with the degree of difficulty from 0.33 - 0.66, the discrimination power between 0.20 – 0.47 and the reliability coefficient of 0.85.

The research findings were as follows:

1. The number of students who obtained 75 % of total scores was 80 percent at the.50 level of significances.

2. The mathematics achievement of students taught by 4 MAT activities was higher than before at the.05 level of significance.

Article Details

Section
Academic Articles