รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง ของวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

จิตตะวัน จิตระกูล
จักรกฤษณ์ พิญญาพงษ์
กิตติ เมืองตุ้ม

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการดูแลตนเองและ 2) เพื่อพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในการส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ที่เข้าร่วมโครงการบริหารยาต้านไวรัส ณ โรงพยาบาลภายในจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเอง ร่วมกับการสัมภาษณ์ระดับลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า

1) ความสามารถในการดูแลตนเองของวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ด้านสุขภาพทั่วไปมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการใช้ยาต้านไวรัส ด้านโภชนาการ ด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์และด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ ตัวแปรด้านเพศ ระดับการศึกษา รายได้และระยะเวลาการติดเชื้อมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการดูแลตนเองของวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ด้านโภชนาการ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และด้านการใช้ยาต้านไวรัส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีตัวแปรทั้ง 4 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการดูแลตนเองของวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ได้แก่ ระยะเวลาการติดเชื้อ ระดับการศึกษา อายุ และรายได้มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายเท่ากับ 0.75 สำหรับระยะเวลาการติดเชื้อเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุด มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายเท่ากับ 0.57

2) รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองที่พัฒนาขึ้นบูรณาการแนวคิด การจัดการสิ่งแวดล้อมกับต้นแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ นำไปสู่การวงแผนและการปฏิบัติเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองให้ดีขึ้น โดยคำนึงถึงความสามารถที่พัฒนาและปฏิบัติได้จริง ส่งผลให้ความสามารถในการดูแลตนเองของวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์สูงขึ้น สามารถดำเนินชีวิตในสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างมีคุณภาพต่อไป

 

Abstract

This research is research and development to study factors that affect to self-care of adolescents HIV-Infected and AIDS patients. To develop environmental management model and test such a model. The 84 HIV/AIDS patients who participated from hospital located in Uttaradit by questionnaire was used to observe the self-care. Tools including the ability to self-care of adolescents infected with HIV and AIDS health are the highest, followed by the use of ARV nutritional health, sexual and reproductive health and social and factors that are associated respectively with the ability to self-care of adolescents HIV-Infected and AIDS patients in the sexual and reproductive health, nutrition, social and environmental and the use of antiviral drugs all aspects including gender, education, income, and duration of infection, Bariables that can predict the variability of the ratings in self-care is the duration of infection that predicts the self-care for them as much as possible, coefficient of prediction was 0.57 of 57.00 percent

Envrionmental Management Model to enhance the self-care of adolescents HIV-Infected and AIDS patients, Uttaradit integrated the concept of envirometal management and chronic care model promote learming participation of HIV-Infected and AiDS patients. Contribute to the planning and execution to modify self-care behaviors for the better regard to the practical ability. Enhance the self-care of adolescents HIV-Infected and AIDS patients and quality of life in social and environment in the future.

Article Details

Section
Academic Articles