การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ โดยใช้เกมการศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์

Main Article Content

กาญจนา ทับผดุง
สุภาวิณี สัตยาภรณ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ โดยใช้เกมการศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุด กิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2556 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโอยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ โดยใช้เกมการศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 4 หน่วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมโดยใช้ E1/E2

ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางคณะคณิตศาสตร์ เรื่อง การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ โดยใช้เกมการศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.65/82.87 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบโดยใช้เกมการศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57 มีความพึงพอใจระดับดีมาก

 

Abstract

The purposes of this research were to design and develop the package to improve Mathematical Skills in Observation, Classification and Comparison by Using Educational Games for Kindergarten 3 Students in Uttaradit Rajabhat University Demonstration School to reach the criteria of E1/E2 Effectiveness at 80/80 effectively and to investigate the students satisfaction to an instructional package. The samples of this study were 50 Kindergarten 3 Students in Uttaradit Rajabhat University Demonstration School in academic year 2013. The instrument research were 4 categories of instructional Package, Learning achievement tests, and student satisfaction questionair. The data were analyzed by a computer program using mean and standard deviation. The effectiveness of the package was calculated by E1/E2

The result of the research revealed that the instructional packages for Improve Mathematical Skills in Observation, Classification and Comparison by Using Educational Games for Kindergarten 3 Students were effective at 82.65/82.87 and the level of Student Satisfaction were highest.

Article Details

Section
Academic Articles