รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในการศึกษาชั้นเรียนและการชี้แนะโดยพี่เลี้ยงของมหาวิทยาลัย Developing a Model of Learning Management for 21st Century through Lesson Study with PLC and University Coaching and Mentoring
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันของครู (2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ (3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ ปี 2559 (4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบปี 2560 (5) ขยายผลการใช้รูปแบบ ปี 2561 และ (6) ประเมินติดตามผลหลังการใช้รูปแบบ ปี 2560 และ 2561 ดำเนินการวิจัยเป็น 6 ระยะ ตามวัตถุประสงค์การวิจัย โดยพัฒนาครูและนักเรียนในโรงเรียนจังหวัดสุโขทัยและพิจิตร 4 โรงเรียน ปี 2559-2561 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 11 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก และปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบประกอบด้วยความเป็นมา หลักการวัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรม สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และบริบทที่เอื้อต่อความสำเร็จ และคู่มือการใช้ โดยรูปแบบมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ ในปี 2559 คณะกรรมการพัฒนาครูและครูได้เสนอแนะปรับปรุงรูปแบบบางส่วนในแต่ละองค์ประกอบและนักเรียนเห็นว่าควรขยายเวลาทำกิจกรรมและมีการฝึกทักษะการสืบค้นเพิ่มเติม 4)ผลการใช้รูปแบบ ในปี 2560 และการขยายผลการใช้รูปแบบในปี2561 พบว่า 4.1) ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลังพัฒนาปี 2560 ร้อยละ 79.00 และหลังการพัฒนาปี 2561 ร้อยละ 74.45 4.2) ครูมีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก 4.3) ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก 4.4) ครูมีความสามารถในการสะท้อนและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก 4.5) สมาชิกใน PLC มีความร่วมมือในการทำงานร่วมกันอยู่ในระดับมาก 4.6) นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21อยู่ในระดับมาก และ 4.7) ครูมีความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก 5) ผลการประเมินติดตามผลหลังการใช้รูปแบบ ปี 2560-2561 พบว่า สมาชิกใน PLC มีความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก โดยเห็นว่าตนเองมั่นใจในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และนักเรียนมีความกล้าแสดงออก มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และสามารถบูรณาการความรู้กับชีวิตประจำวันได้
The investigation has been made from 2559 to 2561, divided into 6 stages according to the purposes of the research. The primary objects include 1) investigating the obstacles of learning management at present 2)developing and examining the capability of learning management for the 21st century model 3) studying the results of trying out in 2559 4)exploring the outcomes in 2560 5) proceeding the experiment of designed learning management in 2561, and 6) evaluating the 2560 and 2561 outcomes. To investigate and develop the project, 4 pilot schools in Sukhothai and Phichit were selected, 11 tools have been utilized, and the results were collected and statistical significances were analyzed through percentage, mean and standard deviation. The results were carried out as follows: 1) The learning management at present is at the highest level, and problems found in learning management are estimated at a high level. 2) The designed model developed was at the highest level. 3) The suggestions were made to develop the model in some aspects by the supervisory board in 2559, and students have proposed to extend the learning activity and improve searching for information skill. 4) The highlighted significant values in 2560 and 2561 show that there was a growing tendency on the understandings in learning management for the 21st century, the competency in designing, managing, reflecting and developing learning management by school teachers, the cooperation in developing the model of the professional learning community, and student skills in learning for the 21st century. 5) The post-observation from 2560 to 2561 reveals the feedbacks from the PLC towards learning management at a high level. Overall, the PLC has mentioned that the confidence in developing learning management has been increased, along with the ability in utilizing teaching technique for the 21st century such as creating a learning environment, using sets of critical thinking questions and assessing student learning proficiency. Finally, students are likely to emerge their confidence in the classroom as they were parts of learning management, they seem to develop their critical thinking, skills in using technology for researching, and integrating their knowledge with daily life.
Article Details
References
ฉัตรชัย หวังมีจงมี และองอาจ นัยพัฒน์. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 : ปรับการเรียนเปลี่ยนสมรรถนะ. Journal of HRintelligence, 12(2), 47-63.
ชาริณี ตรีวรัญญู. (2550). การพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษาตามแนวคิดการศึกษาผ่านบทเรียน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาริชาต เตชะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการศึกษาชั้นเรียนแบบเรียนรู้ร่วมกันที่ส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
ปองทิพย์ เทพอารีย์ และมารุต พัฒผล. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสําหรับครูประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(2), 284-296.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2552). การศึกษา:ปั้นครูคณิตสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่งทิวา จันทน์วัฒนวงษ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความสามารถของครูในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21. Journal of Education Mahasarakham University, 13(3), 208-226.
วศินี รุ่งเรือง. (2562). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพที่ส่งเสริมศิลปะการสอนของครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
วาสนา มะณีเรือง และคณะ (2559). รูปแบบการพัฒนาครูเก่งครูดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 4(2), 260-278.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพฒันาครูในสังคมที่ เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2555). กะเทาะอุปสรรคครูไทย. สืบค้น เมื่อ 8 มีนาคม 2561, จาก http://www.qlf.or.th/Mobile/Details?contentId=571.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). แนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนต้นแบบ พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
Briggs, A. (2005). Education technology: Briggs design model. Retrieved February 3, 2016, from www.drpaitoon.com/briggs.pdf.
Gottesman, B. (2000). Peer coaching for educators. Lanhan: The Scarccrow.
Joyce, B., & Weil, M. (2000). Models of teaching (6th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Kaiser, S. M. (2000). Mapping the Learning Organization: Exploring a Model of. Organizational Learning. Doctoral dissertation. Louisiana State University, U.S.A.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational And Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Voelkel, R. H. (2011). A Case Study of the Relationship between Collective Efficacy and Professional Learning Professional Learning Communities. Doctor of Education in Educational Leadership University of California, San Marcos.
White, A. L. (2004). The long-term effectiveness of lesson study, A New South Wales mathematics teacher professional development program. Brunei Darussalam: University Brunei Darussalam.