แนวทางการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในโรงเรียนแกนนำ จัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3

Main Article Content

สุเชษฐ์ เรือนก้อน
ศิริวิมล ใจงาม
บุญรักษ์ ตัณฑ์เจริญรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการจัดการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีปัญหา ทางการเรียนรู้ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูการศึกษาพิเศษ และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการ เรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการจัดการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ใน 5 ด้าน รายการที่มีการปฏิบัติค่าเฉลี่ยต่ำลำดับสุดท้ายของแต่ละด้านคือ การศึกษาผลการดำเนินการจัด การศึกษาในภาคเรียนก่อนทำการการสอนในภาคเรียนต่อไป การให้ข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ แก่ผู้เรียน การใช้คอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสำหรับฝึกทักษะและฝึกปฏิบัติ ต่าง ๆ การใช้วิธีประเมินผลการเรียนรู้โดย ให้ผู้เรียนให้คะแนนตนเอง และครูนำผลสรุปของการเรียนรู้ไปเขียนแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลเพื่อขอรับสื่อ บริการ สิ่งอำนวยความสะดวกต่อไป

2. แนวทางการจัดการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม จากการสังเคราะห์ผลการนำเสนอของผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ โรงเรียนควรกำหนดเป็นนโยบายของโรงเรียน สร้าง เครือข่ายการจัดการเรียนรู้ และครูควรยึดหลักการประเมินผู้เรียนที่หลากหลาย ควรมีการจัดโครงการในการ อบรมในด้านการพัฒนาครูในด้านการสรุปผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะ บุคคลและขยายผลให้ครูได้รับความรู้ทั้งโรงเรียน สำหรับครูผู้สอนควรเอาใจใส่เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ให้มากขึ้น และทำการสรุปผลจากการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล

 

Abstract This research aimsed to study and find learning guidetines for students with learning disabilities in leading mainstreaming school under the Office of Phitsanulok Education Service Area 3. The population used in the study were school administrators, teachers and special education teachers. The tools used in the study were a questionnaire and in-depth interviews about learning for children with learning disabilities. Data were analyzed with average standard deviation, and content analysis.

The results showed that

1. Conditions for learning. For children with learning disabilities in the leading mainstream in school in 5 areas, items with the lowest average rank of each side were as follows: Studying the vesutt of educational performance management in the semester prior to student teaching next semester.Roviding the source of information for the students to learn Using various computer technologies for training and Practicing various methods of learning by the students from their own evaluation. And teachers to learn to write a summary of the individual education plan for the next media services facilities.

2. Approach to learning. For children who have learning dis a bilities in the leading mainstram school, a. synthesis of the specialis’ presentation snggested that the school should make it a school policy.setup a learning network. Teachers and students should adhere to the principle of evaluation diversity. There should be a program for training teachers in the development of the learning results of learners and individual education plan and expand every teacher's knowledge. Teachers should be more caring for children with learning disabilities and make a summaryof the learning of individual students.

Article Details

Section
Academic Articles