ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในระบบการศึกษาของเด็กในครัวเรือนแหว่งกลาง The Factors Influence on Persistence in Education System of Thai Children in Skipped Generation Households

Main Article Content

กิตติภูมิ วิเศษศักดิ์ Kittipoom Visessak

Abstract

                บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อโอกาสของการคงอยู่ในระบบการศึกษาของเด็กในครัวเรือนแหว่งกลาง และเพื่อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหานี้รวมถึงข้อเสนอแนะในการช่วยเหลือส่งเสริมให้เด็กในครัวเรือนแหว่งกลางมีโอกาสมากขึ้นในการคงอยู่ในระบบการศึกษาโดยใช้แนวคิดเรื่องความเปราะบางเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2558 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์แบบทวิ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยส่วนใหญ่มีอิทธิพลทำให้โอกาสในการคงอยู่ในระบบการศึกษาของเด็กในครัวเรือนแหว่งกลางลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1. อายุของเด็ก 2. การไปทำงานต่างประเทศของพ่อแม่ การเสียชีวิตของพ่อแม่ การไปทำงานต่างจังหวัดของพ่อแม่ และการแยกทางกันของพ่อแม่ 3. การใช้ภาษากัมพูชา หรือ ภาษาส่วย พูดในครัวเรือน ส่งผลให้เด็กในครัวเรือนแหว่งกลางมีโอกาสที่ลดลงในการคงอยู่ในระบบการศึกษาถึงร้อยละ 61.9  5. การได้รับอาหารกลางวันฟรี/อาหารเสริมฟรีที่โรงเรียน ในช่วง 1 – 5 ปีที่ผ่านมา 6. สวัสดิการที่ได้รับจากรัฐในช่วง1- 2ปีที่ผ่านมา 7. การตั้งครัวเรือนอยู่ในภาคกลางและภาคใต้ การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอมาตรการที่สำคัญ เช่น 1. กำหนดนโยบายให้ความช่วยเหลือแก่เด็กในครัวเรือนแหว่งกลางที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เป็นการเฉพาะ 2. ขยายขอบเขตนโยบายสวัสดิการ ความช่วยเหลือต่าง ๆ ให้ครัวเรือนแหว่งกลางเข้าถึงได้ง่าย 3. ปรับปรุงนโยบายอาหารกลางวัน อาหารเสริมที่โรงเรียนให้โปร่งใส 4. ใช้กลไกความร่วมมือการดูแลเด็กและเยาวชนด้วยแนวทางการจัดการจากฐานรากที่ทุกฝ่ายในชุมชน  5. ผนวกการดูแลเด็กนักเรียนในครัวเรือนแหว่งกลางเข้าไว้ในภารกิจหลักขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 6. เพิ่มบทบาทครูและผู้บริหารโรงเรียนในการดูแลเด็กในครัวเรือนแหว่งกลาง 7. ใช้เครือข่ายผู้บริหารโรงเรียนในการดึงดูดเด็กในครัวเรือนแหว่งกลางกลับเข้าสู่ระบบโรงเรียน


                The objective of this article is to analyze various factors that influence the persistence to the education system of children in skipped generation households and to make policy recommendations regarding solutions to problems addressed, using the concept of vulnerability as a framework for education and analyzing the 2015 household socioeconomic survey data, National Statistical Office. Using the Binary Logistic Regression, the study found that most of the factors reduced the opportunity to remain in the education system of children in skipped generation household which are reduced with statistical significance, those are 1. Age of children 2. Going to work abroad for parents, Death of parents, Working in the provinces of the parents, and the separation of parents.3. The use of Cambodian language or Gui tribute language spoken in households. 5. Receiving a free lunch / free supplement at the school in the past 1 - 5 years. 6. Welfare received from the state during the past 1-2 years. 7. Setting up households in the central and southern regions. This study has policy recommendations and measure recommendations to encourage children in a skipped generation household to remain in the education system which are 1.policy should be given to help children in skipped generation households of ethnic groups that are often overlooked or forgotten.  2. Expanding the scope of welfare policy Assistance to make the skipped generation household easily accessible. 3. Updated lunch policy Supplementary food at school to be transparent.  4. The use of cooperation mechanisms to care for children in skipped generation household with management approaches from foundations at all parties in the community. 5. Incorporation of caring for students in skipped generation households as a primary task of the local administrative organization. 6. Increasing the role of teachers and school administrators in caring for children in skipped generation households. 7. Using the network of school administrators to pull children in the in skipped generation households into the school system.

Article Details

Section
Research Articles

References

เดอะอีสานเรคคอร์ด. (2016). “ครอบครัวแหว่งกลาง” ภาวะที่เกิดขึ้นในภาคอีสาน. สืบค้นจาก https://isaanrecord.com/2016/02/01/ครอบครัวแหว่งกลาง-ภาว/

เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู และ ธัญมัชฌ สรุงบุญมี. (2562). มองบทบาทของสภาวะครัวเรือนแหว่งกลางต่อการพัฒนาคนผ่านฐานข้อมูล Longitudinal ของไทย ความเหลื่อมล้ำในเชิงโอกาสของเด็กและสภาวะครัวเรือนแหว่งกลาง. สืบค้นจาก https://www.pier.or.th/en/?abridged=มองบทบาทของสภาวะครัวเรือน

ไพศาล สังโวลี. (2562). เศรษฐกิจโตแต่เกษตรตันอีสานหนี้ท่วมหัวครอบครัวแหว่งกลาง. ค้นจาก https://www.esanbiz.com/12972

วณิชชา ณรงค์ชัย และ ดุษฎี อายุวัฒน์. (2554). รูปแบบการอยู่อาศัยร่วมกันของคนข้ามรุ่นในครอบครัวผู้ย้ายถิ่นอีสาน.วารสารวิจัยมข. 11(3).

วิวรรณา คล้ายคลึง, วรรณี เดียวอิศเรศ, และจินตนา วัชรสินทร์. (2018). ความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า/ยายที่ดูแลหลานวัยขวบปีแรก.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา. 26(1).

อมรเทพ จาวะลา. (2556). การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครัวเรือนไทย. ใน มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด, ณัฎฐาภรณ์ เลียมจรัสกุล(บรรณาธิการ), ชีวิตคนไทยในสองทศวรรษของการพัฒนา : หนังสือชุดสู่อนาคตไทย.เชียงใหม่: สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2014/09/KhonThai3-final.pdf

อับดุลอาซิส ประสิทธิ์หิมะ. (2560). การย้ยาถิ่นของพ่อแม่กับพฤติกรรมของลูกในถิ่นต้นทาง. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Proceedings) การสัมมนาเครือข่ายนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิยา ครั้งที่ 16 ประจำปีการศึกษา 2559 วันที่ 29-30 มิถุนายน 2560

อัมมาร์ สยามวาลา, วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์,นิรมล สุธรรมกิจ, กุลภรณ์ อันนานนท์, สุวิมล ฟักทอง, บวรพรรณ อัชกุล, และ พัธนยุทธ์ ศานติยานนท์. (2549). รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องการประเมินความเสี่ยงและความเปราะบางทางสังคม: การวัดภาวะความยากไร้และความเปราะบางทางสังคมสู่แนวทางนําไปปฏิบัติได้ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. ค้นจาก https://tdri.or.th/2012/12/h103/

Jampaklay, A. et al., Children Living Apart from Parents Due to Internal Migration, IPSR Publication No. 397, 2012. Retrieved from www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr/Research/CLAIM/Download/CLAIM-Report-FinalReport.pdf

Research Cafe. (2019). ครอบครัวแหว่งกลาง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครัวเรือน. สืบค้นจาก https://researchcafe.org/skipped-generation-households/