กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และเพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัด เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษาครั้งนี้จำนวน 117 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้ง 6 ด้านใน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเลื่อนระดับปรับตำแหน่ง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านการคัดเลือกบุคลากร และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามลำดับ
2. กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่ การมีส่วนร่วม การวางแผนและบริหารกำลังคนสอดคล้อง กับภารกิจและความจำเป็น ส่งเสริมสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวก มีระบบการบริหารผลงานที่เน้น ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่า ความโปร่งใสในกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
Abstract
This research aimed to investigate human resource management of sub-district administrative organizations(SAO) in Uttaradit province and to study strategic human resource management that increased job efficiency of SAO officers. This research applied mixed research methods. The sample group was 117 people including 18 key respondents. The research instruments were a questionnaire, an in-depth interview and a group discussion.
The research findings were the following:
1. Overall, the human resource management of SAOs in Uttaradit province in six aspects was ranked at a high level. When each aspect was considered in isolation, promotion was ranked at the highest level ( = 4.03, S.D.= 0.80), followed by selection and performance evaluation, respectively.
2. Strategic human resource management that increased job efficiency of SAO officers were the following – participation, planning, workforce management relevant to duties and needs, welfare and facilities promotion, performance management systems concentrating on efficiency, effectiveness, and worthiness, transparency of human resource management, ongoing knowledge development and technology. These strategies enhanced job efficiency of SAO officers in Uttaradit province.