ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานรายวิชาการผลิตพันธุ์ไม้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

พงษ์เทพ นาคอ้น
เรขา อรัญวงศ์
รัชนี นิธากร

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน รายวิชาการผลิตพันธุ์ไม้ก่อนเรียนกับหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบโครงงาน รายวิชาการผลิตพันธุ์ไม้ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) ศึกษาความพึงพอใจของ นักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยา จำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3) นักเรียนมีความ พึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

 

Abstract

The purpose of this research were to 1) compare the results of pre-post tests achievement of Matthayomsueksa 3 students who were taught by learning management project approach in Plant production course 2) compare the achievement of Matthayomsueksa 3 students after learning management project approach in Plant production course with the criterion of 70 % 3) study the satisfaction after learning management project approach in Plant production course. The samples of this study were 30 Matthayomsueksa 3 students from Thungphothalepittaya school in academic year 2011. The research instruments were lesson plans, achievement test and the learning satisfaction questionnaire.

The results were 1) the posttest achievement was higher than the pretest at the significance level of .o5. 2) the posttest achievement was higher than criterion of 70 % at the significance level of .o5. 3) the satisfaction of students was at the high level.

Article Details

Section
Academic Articles