แนวทางการดำเนินงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2

Main Article Content

จารุณี อิ่มวงษ์
ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและนำเสนอแนวทางการดำเนินงานวิชาการโรงเรียน ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2

การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาปัญหาการดำเนินงานวิชาการ โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัย คือ ผู้บริหาร จำนวน 55 คน และครู 200 คน ในปีการศึกษา 2553 รวมทั้งสิ้น 255 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยง .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 คือ เสนอแนวทางการดำเนินงานวิชาการโรงเรียน ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามความคิดของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปลายเปิดที่สอบถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนวทางการดำเนินงาน วิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัญหาการดำเนินงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหาสูงสุด คือด้านการวัดผลและประเมินผลรองลงมาคือ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการบริหารหลักสูตร และด้าน กระบวนการเรียนการสอน ซึ่งมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ

2. แนวทางการดำเนินงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1) แนวทางการดำเนินงานด้านการบริหาร หลักสูตร 2) แนวทางการดำเนินงานด้านการเรียนการสอน 3) แนวทางการดำเนินงานด้านการนิเทศ การศึกษา 4) แนวทางการดำเนินงานด้านการวัดผลและประเมินผล

 

Abstract

This research aimed to study the guidelines for academic affairs management of small schools under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2.

The research procedure was divided into two phases: the first phase was to study the problems for academic affairs management of schools under the office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2. The sample group comprised 255 people consisting of 55 administrators and 200 teachers in the 2010 academic year. The research instrument was a 5-level rating scale questionaire with a reliability coefficient of .96. The data were statistically analyzed by percentage, mean, and standard deviation. The second phase was to form guidelines for academic affairs management of schools under the office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2 as viewed by 30 experts. The instrument was a questionnaire about approaches for academic affairs management of school under the office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2.

The results of the research were as follows:

1. The problem for academic affairs management of school under the office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2 as a whole was at the moderate level. When considering aspect by aspect it was found that the highest level problem was on educational assessment. Next to that were educational supervision, curriculum administration and learning management which were at the moderate level.

2. The guidelines for academic affairs management of small schools under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2 consisted of 4 methods: 1) Guidelines for curriculum administration management, 2) Guidelines for learning and instruction management, 3) Guidelines for educational supervision management, and 4) Guidelines for educational assessment management.

Article Details

Section
Academic Articles