การเล่าเรื่องเพื่อสื่อสารการตลาดผ้าทอน้ำแร่ จังหวัดลำปาง Storytelling to communicate the marketing of mineral water woven fabric in Lampang Province

Main Article Content

นิฤมล หิรัญวิจิตรภรณ์ Nirumol Hiranwijitporn
ธีร์ คันโททอง Thee Kunthotong

Abstract

                 บทความวิจัยเรื่องนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องผ้าทอน้ำแร่ของกลุ่มน้ำมอญแจ้ซ้อนจังหวัดลำปาง และ 2) เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ้าทอน้ำแร่ของกลุ่มน้ำมอญแจ้ซ้อนจังหวัดลำปาง ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและวิธีการสนทนากลุ่ม ประกอบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก รวมจำนวนทั้งสิ้น 54 คน


                ผลการวิจัยตอนที่ 1 การเล่าเรื่อง พบว่า การเล่าเรื่องที่ดีนั้นเป็นหัวใจสำคัญของการที่จะทำให้ผ้าทอน้ำแร่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคและยังเป็นการสร้างจุดเด่นกลบจุดด้อยของผ้าฝ้ายนั้นได้เป็นอย่างดี โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ 1) การเล่าเรื่องจากกระบวนการผลิต ได้แก่ การใช้น้ำแร่เป็นสารช่วยย้อมสี และการใช้สีย้อมผ้าจากธรรมชาติทั้งใบเหว ครั่งและผลคำแสด และ 2) การเล่าเรื่องจากเทคนิคของการทำลายผ้าและประวัติความเป็นมาของลายผ้าทอน้ำแร่ โดยมีการพัฒนาลายผ้าทอคือ ลายไก จนได้ลายผ้าใหม่ที่เรียกว่า ลายน้ำมอญ ซึ่งกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนต่อไป และตอนที่ 2 การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการนั้น พบว่า กลุ่มน้ำมอญแจ้ซ้อนก็มีการใช้เครื่องการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการทั้ง 5 อย่าง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1) การโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบถุงใส่สินค้าและในปัจจุบันจะให้น้ำหนักการโฆษณาผ่านทางสื่อออนไลน์มากกว่า 2) การขายโดยใช้พนักงาน โดยหัวหน้ากลุ่มจะเป็นผู้ขายสินค้าเองซึ่งก็เป็นผู้ที่มีความรู้และมีความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ของตัวเองเป็นอย่างดี 3) การส่งเสริมการขาย การจัดโปรโมชั่นอาจไม่มีผลมากนักเนื่องจากกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่นั้นจะเป็นกลุ่มเฉพาะที่สนใจซื้อมาใส่ 4) การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของภาครัฐให้มากขึ้นโดยเฉพาะละครแนวย้อนยุคมีการสวมใส่ชุดผ้าฝ้ายจะเป็นการประชาสัมพันธ์ที่สร้างกระแสได้ดีและรวดเร็ว และ 5) การตลาดทางตรงมีการใช้เว็บไซต์ nammorndesign.com Facebook และ Instagram เป็นช่องทางหลักในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการขายสินค้าต่าง ๆ และมีการใช้การจัดกิจกรรมหรือการออกบูธแสดงสินค้าอีกด้วย


            The researchers used qualitative research, the objective is to 1) Study the narrative of the mineral water woven fabric of the Mon Chae Son group, Lampang Province. And 2) Study of the integrated marketing communication of mineral water woven fabric of Mon Chae Sorn group, Lampang Province. The methodology to study the phenomenology approach, in which the researchers gathered information using participant observation, focus group and In-depth interviews methods. Total of 54 persons.


                The findings for part 1 of the storytelling. It is found that good storytelling is the heart of making mineral water woven fabric gain the attention of consumers and highlight the weaknesses of cotton. That can be divided into two things: 1) Storytelling of the production process includes the use of mineral water as a handwoven cotton dye and the use of natural dyes. And 2) Storytelling, based on the techniques of breaking fabrics and the history of mineral water woven fabric has developed a woven pattern from ancestors, namely the Kai pattern, and the new fabric called Nammorn pattern, which became a unique of the community. In part 2, integrated marketing communications found that Nammorn Design has implemented five integrated marketing communication tools, which are as follows:
1) Advertising is used through the print media as a bag of goods and spend more advertising online than others media. 2) Sales using employees by the group's leader to sell the products, who are knowledgeable and have a good understanding of the products and have confidence in the products. 3) Promotion of products that is reasonably priced, Promotions may not be as effective as most of them are niche groups that are interested in buying. 4) News and public relations will be more popular, it will require more proactive publicity of the government. In particular, period dramas wearing cotton dresses are public relations to good viral and fastest. And 5) Direct marketing, Nammorn Design is used as a direct marketing online medium with the use of the nammorndesign.com website and the use of more accessible media is Facebook and Instagram, which use the main channels for advertising and public relations.

Article Details

Section
Research Articles

References

ขนิษฐา จิตชินะกุล. (2559). จากภูมิปัญญาลวดลายผ้าทอพื้นเมืองสู่ธุรกิจ SME. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 4(1), 59-81. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalartsjournal/article/view/95907/74888

จิรภัทร เริ่มศรี และ จันทิมา เขียวแก้ว. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์ผ้าย้อมครามสกลนคร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 8(4), 178-190. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/224731/161246

ดุษฎี สุนทรารชุน. (2531). การออกแบบลายพิมพ์ผ้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์, จิรยุทธ์ สินธุพันธ์, สุกัญญา สมไพบูลย์ และ ปรีดา อัครจันทโชติ. (2547). สุนทรียนิเทศศาสตร์: การศึกษาสื่อสาร การแสดงและสื่อจินตคดี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์. (2563). การสื่อสารการตลาดของผู้ประกอบการคลัสเตอร์ผ้าทอเมืองน่าน. CRRU Journal of Communication Chiangrai Rajabhat University, 3(2), 22-42.

ปวินรัตน์ แซ่ตั้ง. (2556). การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ ผ่านกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ โดยการใช้สารช่วยย้อมจากน้ำพุร้อนแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1(1), 9-22.

วีระพันธ์ อะนันชัยธวัช และ บรินดา สัณหฉวี. (2561). การสื่อสารการตลาดผ่านการสร้างสรรค์เรื่องราวโอทอป กลุ่มผ้าจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 12(1), 252-265. สืบค้นจาก https://so01.tci-Thaijo.org/index.php/FEU/article/view/103742/90105

เสรี วงษ์มณฑา. (2540). กลยุทธ์การตลาดและการวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไฟเท๊กซ์.

อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์. (2558). การเล่าเรื่องทางนิเทศศาสตร์: ศึกษาจากงานวิจัย. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า. 2(1), 31-58. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcin/article/view/42384/35039

Belch, G.E., and Belch, M.A. (2004). Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective (6th ed). Boston: McGraw-Hill.

Duncan. (2005). Principles of Advertising & IMC (2th ed). Boston, Mass.: McGraw- Hill/Irwin.

Nammorndesign. (2563). น้ำมอญดีไซน์ ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ. สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://nammorndesign.com/?page_id=30.

Phillip Kolter. (2003). Marketing Management (11th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Santipap Charam, Porntada Suvattanavanich, Dhanate Vespada. (2012, January). A Novelty Narrative Technique of Short Stories in Chokaraket Magazine. Journal of Library and Information Science SWU. 5(1), 57-69.

Shimp, T.A. (2000). Advertising, promotion, and supplemental aspects of integrated marketing communications (5th ed.). Orlando, FL: Dryden Press.

Walter R. Fisher. (1989). Human Communication as Narration: Toward a Philosophy of Reason, Value and Action. South Carolina, The University of South Carolina Press.