การพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจชุมชนและการพึ่งพาอาศัยบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืน The Potential Development of the Business Community and Dependence Bung Boraphet Sustainable
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ประเมินศักยภาพ และจัดทำแนวทางการบริหารจัดการและการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจของตลาดเป้าหมาย ทั้งในด้านกายภาพ การบริหาร จัดการและด้านบุคลากร 2) เพื่อส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการตลาดเป้าหมาย เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในด้านการบริหารจัดการ การตลาด การผลิต การจำหน่าย และการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่สำคัญในการให้ข้อมูลได้แก่ ประธานกลุ่ม คณะกรรมการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 15 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มอาชีพที่ใช้ในการศึกษามีจุดแข็งในด้านภาวะผู้นำและความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้า มีจุดอ่อนในด้านขาดแคลนแรงงาน ไม่มีตราสินค้าและขาดการประชาสัมพันธ์ มีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและจากกระแสความนิยมรักสุขภาพ และอุปสรรคจากปัญหาด้านเศรษฐกิจและวัตถุดิบที่ต้องพึ่งจากธรรมชาติเท่านั้น 2) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน โดยใช้รูปแบบ "Social Creative Potential Development Model" (SCPD Integrated Model) เป็นการสร้างการพัฒนาผู้ประกอบการให้สอดรับกับบริบทความต้องการในการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ สามารถสรุปแนวคิดในการพัฒนา ได้แก่ (ก) การสร้าง Story telling เพื่อเน้นเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ (ข) เน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (ค) การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม น่าสนใจ และเหมาะที่จะเป็นของฝาก (ง) การหาแนวทางในการเพิ่มปริมาณผลผลิตด้วยการสร้างเครือข่ายชุมชน (จ) การรวมกลุ่มที่เข้มแข็งเพื่อผลิตภัณฑ์ที่มาจากชุมชน และ (ฉ) พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานสู่การขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
This research has two main objectives. 1) to analyze, evaluate business potential and establish management guidelines and promoting and developing business potential of the target market both in physical, administrative, and human resource aspects. 2) to promote and develop target market entrepreneurs, farmers, farmers groups, community enterprises in order to have more potential in management, marketing, production, distribution and development of quality products and services. The tools used to collect data are in-depth interview member of 15 persons and group discussions of 15 people. The qualitative data use content analysis and descriptive analysis.
The results of the study showed that: 1) the occupation groups used in the study had strength in leadership and uniqueness of the product. The occupation groups have a weakness in labor shortage. There do not have branding and publicity. There is an opportunity to receive support from the government and from the trend of health. They concern obstacles from economic problems and raw materials that have to rely on nature only 2) a model for development of entrepreneurial potential, community business by using the "Social Creative Potential Development Model" (SCPD) to create entrepreneurial development. According to the context of development needs in each area Development ideas can be summarized as follows: (a) creating storytelling to highlight the story of the product (b) to emphasize publicity through social media (c) to design product that is attractive and suitable as a souvenir (d) to find ways to increase productivity through community networking, (e) to integrate a strong group for community-based products, and (f) to develop standardized products towards community product standards.
Article Details
References
ขวัญฤดี ตันตระบัณฑิตย์. (2551). แนวทางการพัฒนาธุรกิจชุมชน. วารสารการพัฒนาท้องถิ่น. มิถุนายน-กันยายน 2551, 190-194.
จันทร์ธร เลิศมงคล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ชลบุรี.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทิศ สังขรัตน์. (2556). แนวทางการพัฒนาการด าเนินงาน ของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.
ปุณฑริกา สุคนธสิงห์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มอาชีพ: กรณีศึกษากลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จากผ้า ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา.
วรรณพงค์ ช่วยรักษา. (2560). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้าย้อมครามบ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนคร.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภาพร อภิรัตนานุสรณ์ และ กฤตภาส จินาภาค. (2556). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์น้ำพริกพร้อมบริโภค. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 36, 451-464.
สุภาพร มากแจ้ง และพรศิริ กองนวล. (2550). การวิจัยและพัฒนา ระบบการจัดการเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของคนในท้องถิ่น อย่างเป็นระบบและยั่งยืน : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชนปากคลองบางปลากกด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภฎธนบุรี, 2 (1), 65-78.
สมิทธิ์ บรรณคร. (2553). ความสำเร็จของการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแก้วเจ้าจอม ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจ. (2559). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. กรมส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
อังกาบ บุญสูง. (2554). การศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Babbie, E. (2001). The Practice of Social Research. 9th Edition, Wadsworth Thomson, Belmont.
Cooper, D. R. & Schindler, P. S. (2001). Business research methods. New York: McGrew-Hill Companies.
Dunham, A. (1958). ความเข้มแข็งของชุมชน.สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2562, จาก http://isc.ru.ac.th/data/Ps0000210.doc.
Kotler P. & Armstrong, G. (2008). Marketing on introduction. New Jersey: Pearson Education.