สำรวจและวิเคราะห์กฎหมายเพื่อจัดทำคู่มือการใช้กฎหมายเกี่ยวกับบึงบอระเพ็ด อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ Survey and analyze legislation to provide instruction in the law on Bungboraped correctly and efficiently

Main Article Content

เฉียงตะวัน ยอดดำเนิน Chiangtawan Yoddamnoen

Abstract

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารวบรวมกฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดให้สามารถดำเนินการร่วมกันในระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและใช้ประโยชน์ในบึงบอระเพ็ด และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือการใช้กฎหมายสำหรับบึงบอระเพ็ดเป็นการเฉพาะอย่างมีประสิทธิ ซึ่งมีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากแกนนำชุมชน ตัวแทนประชาชน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ และตัวแทนหน่วยงาน จำนวน 112 คน และการสนทนากลุ่ม จากตัวแทน ประชาชน กลุ่มอาชีพ ผู้นำชุมชน นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จำนวน 20 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา   


               ผลการศึกษาพบว่า 


              1. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในบึงบอระเพ็ดจำเป็นต้องมีความเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ได้แก่ 1) พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 2) พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และ 3) พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2562 


              2. สภาพปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาบึงบอระเพ็ด มีประเด็นสำคัญ ๆ ได้แก่ 1) ความชัดเจนขอบเขตการใช้ประโยชน์ในบึงบอระเพ็ด 2) การบริหารจัดการไม่เป็นเอกภาพ 3) ขาดจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์ และ 4) การมีส่วนร่วมของประชาชน 


              3. ประเด็นข้อขัดแย้งของกฎหมาย มี 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ประเด็นระหว่างประชาชนและหน่วยงานของรัฐ และ 2) ข้อขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน


                 This research with the objectives 1) study the collection of laws Act, rules, announcements, and other regulations relating to the management of Bueng Boraped to be able to work together efficiently at the area level 2) to analyze the legal problems that hinder the development and use in Bueng Boraped and  3) In order to create a law manual for Bung Boraped specifically with efficiency. The research model is a participatory action research in the community. Community-based participation action research (CPAR) was collected through documentary research, interviews with key informants. With in-depth interviews from community leader’s Public representative Career agent and agency representatives, amount 112 people and group conversations from people representatives, occupational groups, community leaders, academics, legal experts, and 20 people. Content analysis was conducted.   The study found that:


              1. Legislation relating to people living in Bueng Boraped must understand and act correctly, such as 1) Royal Property Act B.E. 2019 2) Wildlife Preservation and Protection Act B.E.2019. And 3) Royal Decree on Fisheries B.E. 2015. 


               2. Conditions, problems and obstacles in the development of Bueng Boraped There are important points which are 1) clarity, scope of use in Bueng Boraped, 2) unified management, 3) lacking awareness of utilization, and (4) public participation. 


                 3. There are 2 legal conflicts: 1) issues between citizens and government agencies, and 2) conflicts between agencies.

Article Details

Section
Research Articles

References

กรัณฑรัตน์ แซ่หวู. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการจัดการและอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ: กรณีศึกษาเวียงหนองหล่ม จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรบัณฑิต. สำนักวิชานิติศาสตร์. พะเยา: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

กัญญ์ชิสา โภคินรัชพงศ์. (2558). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2550). สิทธิของบุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

จรีรัตน์ สร้อยเสริมทรัพย์. (2552). มาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้เกี่ยวกับการยุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

เทิดภูมิ เดชอำนวยพร. (2557). ปัญหาทางกฎหมายในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำในภาคเกษตร. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยศ สันตสมบัติ. (2546). พลวัตสิทธิชุมชน: กระบวนทัศน์ทางมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). วาระปฏิรูปที่ 25: ระบบการบริหารจัดการทรัพยากร: ระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อุไร จักษ์ตรีมงคล. (2560). โครงการประเมินผลกระทบการบังคับใช้กฎหมายและติดตามผลการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม : การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือการประเมินผลการบังคับใช้กฎหมาย. สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Edward A. K. (1996). Environmental Geology. 7th ed. NJ: Prentice-Hall.

Henry W. (1993). The Dictionary of Ecology and Environment Science. New York: Henry Holt.

Ramsar Organization. (1994). The Convention on Wetlands of International Importance, especially as Waterfowl Habitat. Retrieved April 7, 2016, from http://www.ramsar.org /document /copy-of-the-convention-0.