ความยากจนแรงผลักสู่การเป็นชุมชนสวัสดิการ The causes of poverty toward community welfare

Main Article Content

นวพล แก้วสุวรรณ Nawapon Kewsuwun
จิรัชยา เจียวก๊ก Jirachaya Jeawkok

Abstract

             บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความเป็นมาของสวัสดิการชุมชนที่เกิดขึ้นจากทุนทางสังคม โดยเริ่มต้นจากความยากจนของคนในชุมชน ก่อเกิดเป็นความเห็นอกเห็นใจ และการพยายามดิ้นรนเอาตัวรอดของคนในชุมชน อาศัยความสัมพันธ์ของคนในชุมชน มีกระบวนการการมีส่วนร่วมกับทุนทางสังคม มาเป็นระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนในชุมชน ซึ่งเป็นดำเนินการและพัฒนาให้เกิดความมั่นคงในชุมชนจากการระเบิดจากภายใน สู่การเป็นรูปแบบของสวัสดิการชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละชุมชน มีวิธีการที่หลากหลายไม่จำกัดรูปแบบ ซึ่งเป็นการดูแลให้คนในชุมชนได้รับสวัสดิการ ตั้งแต่ “เกิดจนกระทั่งถึงตาย” จึงเป็นการช่วยเหลือที่เน้นความสัมพันธ์เริ่มจากการพึ่งตนเองกันในชุมชน นับได้ว่าเป็นการช่วยเหลือที่มากกว่าเงินหรือวัตถุ ส่วนบางชุมชนมีรูปแบบกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เน้นการออมเพื่อเป็นกองบุญมากกว่ากองทุน ทำให้ทุกคนในชุมชนนั้นต่างก็เป็นผู้ให้และเป็นผู้รับพร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นการ “ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี” ด้วยสวัสดิการชุมชนที่เป็นการสร้างหลักประกันความมั่นใจแก่คนในชุมชน  


             This article aims to explain the history of community welfare that arises from social capital. It starts with poverty in the community, sympathy for and the struggle for survival of the community. Community welfare is a relationship of people in the community, using the process of participation in social capital as a support for the people in the community. Which is implemented and developed to secure the community from "Explosion from Within" to a form of community welfare that is unique to each community. There are many non-specific ways to help people in the community receive benefits from "Born to death" is therefore a relationship-oriented aid, beginning with self-reliance in the community. It is more help than money or objects. Some communities have a form of community welfare funds that focus on saving as a merit rather than a fund. As a result, everyone in that community is both a giver and a receiver, which is "a valuable giving Receive with dignity "with the community welfare which is considered as a guarantee for the confidence in the community.

Article Details

Section
Academic Articles

References

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2550). การพัฒนารูปแบบการบูรณาการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนในระดับอำเภอ จังหวัดฉะเชิงเทรา. มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของ ชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
จิรัชยา เจียวก๊ก และคณะ. (2559). โนรากับสุขภาวะของคนและชุมชน. ไทยคดีศึกษา, 12(2), 150-176.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2546). บทสังเคราะห์ภาพรวมการพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2547). การก่อเกิด การผลิตซ้ำ และการขยายตัวทุนทางสังคมในชนบทอีสาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานสนับสนุนการวิจัย.
ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ. (2552). วรรณกรรมปริทรรศน์และการสังเคราะห์ความรู้ เรื่อง สวัสดิการชุมชนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2546). รายงานการวิจัยกระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.
วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2551). ทุนทางสังคม กระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
วริฏฐา แก้วเกตุ. (2550). การจัดสวัสดิการแบบบูรณาการในชุมชนโดยหุ้นส่วนการพัฒนาหลายฝ่าย ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลน้ำเกี๋ยน กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสังเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2552). คู่มือโครงการสนับสนุนสวัสดิการชุมชน. กรุงเทพฯ: พริ้นติ้ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุวรรณี คงมั่น. (2546). เอกสารสัมมนาวิชาการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพฯ
อรทัย แสงทอง. (2558). การบริหารกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดภาคใต้. มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Pierre Bourdieu. (1985). Social Space and Symbolic Power. Sociological Theory. Vol 7 No. 3.
Robert D. Putnam. (1993). What makes democracy work?. National Civic Review. 82(2), 101-107.
World Bank. (1999). The World Bank annual report 1999. Washington DC: World Bank.