การพัฒนาหลักสูตร “รักษ์ป่าน่าน” เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนในสถานศึกษาจังหวัดน่าน โดยเครือข่ายความร่วมมือของชุมชน Consciousness Development towards the Natural Resource, Forest, and Environmental Conservation in the Context of the School Curriculum Entitled “RAK PA NAN” in Cooperating with Community Networks

Main Article Content

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ Chaiwat Sutthirat

Abstract

                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตร “รักษ์ป่าน่าน” เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนในสถานศึกษาจังหวัดน่าน โดยเครือข่ายความร่วมมือของชุมชน ดำเนินการวิจัยระหว่างปี พ.ศ. 2560-2562 เป็น 5 ระยะ คือ 1) ศึกษาสภาวการณ์และแนวทางแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมในจังหวัดน่าน พ.ศ. 2560-2561  2) พัฒนาหลักสูตร“รักษ์ป่าน่าน” โดยเครือข่ายความร่วมมือของชุมชน พ.ศ. 2561  3) ทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียน 29 โรงเรียนปีการศึกษา 2561  4) ใช้หลักสูตรพัฒนานักเรียนใน 355 โรงเรียน ปีการศึกษา 2562 และ 5) ศึกษาผลกระทบของการใช้หลักสูตร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือ 7 ฉบับ แล้วนำผลการวิจัยมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาวการณ์ป่าไม้ในจังหวัดน่าน พบว่า ลดลงตั้งแต่ พ.ศ. 2551-2560 เนื่องมาจากประชาชนบุกรุกทำลายป่าไม้ และแนวทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืนคือ การให้การศึกษาแก่เยาวชนและประชาชน  2) หลักสูตร “รักษ์ป่าน่าน” ประกอบด้วย ความเป็นมา จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ แนวทางการจัดการเรียนรู้ แนวทางการวัดและการประเมินผล ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก  3) ผลการทดลองใช้หลักสูตร ปีการศึกษา 2561 และใช้ปี 2562 พบว่า (1) นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตามหลักสูตรและมีจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์อยู่ในระดับมาก  (2) ครูมีความตระหนักและมีความสามารถในการใช้หลักสูตรในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก  (3) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการนำหลักสูตรไปใช้อยู่ในระดับมาก  (4) หลักสูตรหลังใช้ในปีการศึกษา 2561 และ 2562 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด  (5) คณะกรรมการนิเทศและครูมีความคิดเห็นต่อการนำหลักสูตรไปใช้อยู่ในระดับมาก และ (6) มีข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงหลักสูตรหลังการใช้ในปีการศึกษา 2561 และ 2562 เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมผู้เกี่ยวข้องในการใช้หลักสูตร และ 4) ผลกระทบของการใช้หลักสูตรมี 9 ด้าน คือ ผลกระทบต่อ 1) นวัตกรรมการดูแลทรัพยากรป่าไม้  2) ความร่วมมือขององค์กร 3) ผู้ปกครองนักเรียน  4) ทรัพยากรป่าไม้ของชุมชน  5) การท่องเที่ยวและรายได้ของชุมชน  6) การบูรณาการการทำงาน  7) การวิจัยชุมชนสู่ห้องเรียน  8) การขยายเครือข่ายความร่วมมือ และ 9) การพัฒนาครูในอนาคต


             This paper is a preliminary attempt to develop “RAK PA NAN” project in the context of school curriculum. The primary aim is to promote consciousness of natural resource, forest and environmental conservation in cooperating with community networks. The investigation has been made from 2560 to 2562, divided into 5 stages including; stage 1: exploring environmental issue and its conservation management in Nan province (2560 - 2561), stage 2: developing school curriculum with the community cooperation (2561), stage 3: trying out the curriculum with 29 pilots schools (2561), stage 4: operating the curriculum with 355 schools (2562), and stage 5: studying the consequences after operating the curriculum. To investigate and develop the project, 7 tools were selected. In the final, the results were collected and statistical significances were analyzed through percentage, mean, and standard deviation.The results were carried out as follows:  1. The declination of the forest has been found from 2551 to 2560 respectively. The main cause was the forest trespass for business, agriculture, and habitat unauthorizedly. To solve the problem, the community is in need to be more aware and learn to utilize natural resources, forest, and environment sustainably.  2. The results of the curriculum development were rated at a high level, the purpose of the curriculum, structure and timetable of the course, course description, learning outcomes, content, learning management, and evaluation. 3. The results show 1) student involvements in learning curriculum at a high level, 2) the awareness and proficiency of the teachers in utilizing curriculum were at a high level, 3) the result of project cooperation investigate in using the curriculum were found at a high level, 4) the significant value of curriculum and curriculum handbook were at the highest level, 5) the feedback from the supervisory board and school teachers towards curriculum were at a high level, and 6) the suggestions were made to develop curriculum and curriculum handbook. 4. the result shows 1) the effect towards innovation regarding forest, 2) the cooperation of organization, 3) student guardians, 4) natural resource and environment in the community, 5) tourism, occupation and community outcomes, 6) integrated work expertise andknowledge, 7) emerging community research into classroom, 8) the expansion of cooperation, and 9) teachers development in the future.

Article Details

Section
Research Articles

References

กาญจนา เอียดสุย. (2560). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครอง โรงเรียนเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสนจังหวัดพัทลุง สำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขต 12. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, หาดใหญ่.

กรมป่าไม้. (2560). ข้อมูลสถิติกรมป่าไม้ปี 2560. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกรมป่าไม้. จันทร์จิรา บุรีมาศ.

_______. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, ภูเก็ต.

ชลธิศ สุรัสวดี. (2559). พื้นที่ป่าจังหวัดน่านถูกทำลาย. สัมภาษณ์ในโพสต์ทูเดย์ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2560). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วีพรินท์.

ฐิติมา นิติกรวรากุล. (2553). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดบ้านโป่ง “สามัคคีคุณูปถัมป์” จังหวัดราชบุรี ช่วงชั้นที่ 4 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2559). ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก.

สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2562,จาก http://nattawatt.blogspot.com/2016/12/consciousness.html.

บุญยืน ทูปแป้น. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเยาวชนชุมชนต้นน้ำแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1): 20-29.

พชรภรณ์ สิงห์สุ รี. (2558). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี, จันทบุรี.

พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วศิน ชูชาติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาพัฒนศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

วิษณุ เครืองาม. (2559). จังหวัดน่านต้นน้ำถูกทำลาย. กรุงเทพฯ: Thai PBS.

วีระชน ขาวผ่อง. (2551). ความรู้การมีส่วนร่วมและความตระหนักต่อระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของพนักงานในองค์กรที่ได้รับรองมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001): ศึกษากรณีบริษัทจันทบุรีซีฟูดสจํากัด. สารนิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์. (2554). การศึกษาแบบมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562, จาก http://rotoratuk.blogspot.com/p/1-1.html.

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2555). รายงานการประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาชีวเวชศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555. นครศรีธรรมราช: สํานักวิชาสหเวชศาสตรและสาธารณสุขศาสตร์.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2560). การสร้างสำนึกให้เด็กและเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ. บทพระราชนิพนธ์ในการประชุมสัมมนา “รักษ์ป่าน่าน” ครั้งที่ 1 วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2557. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

แสงดาว ถิ่นหารวงษ์. (2558). การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม: จากทฤษฏีสู่การปฏิบัติในรายวิชาวรรณคดีสำหรับเด็ก. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 17(1): 1-11.

ออมสิน จตุพร. (2560). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นตามแนวคิดการศึกษาอิงถิ่นฐาน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา: กรณีชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

Creighton. J. L. (2005). The Public Participation Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement. Jossey Bass Publisher.

Good .C.V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill.