การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ไทย The Application of Creative Economy to Remaking Thai Television Drama

Main Article Content

เพิ่มพร ณ นคร และคณะ Permporn Na Nakorn and Others

Abstract

               การศึกษาวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ไทย มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษากระบวนการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากร 35 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารทางสถานีโทรทัศน์  ผู้จัดละครโทรทัศน์  และผู้กำกับการแสดง มีเกณฑ์การเลือกจากผู้ที่เคยสร้างสรรค์การผลิตซ้ำ ละครโทรทัศน์ไทยทางสื่อโทรทัศน์ฟรีทีวีระบบดิจิทัลอย่างน้อย 3 เรื่อง ในช่วงปี 2557-2562 และความสะดวกในการให้ข้อมูลของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ กลุ่มละ 3 คน รวมทั้งสิ้นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 คน


                ผลการวิจัยพบว่า มีการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี ทุนวัฒนธรรมและคุณค่าเชิงพาณิชย์ พบว่า กระบวนการคิดสร้างสรรค์ในการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ไทยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการวางแผน ขั้นเตรียมก่อนการผลิต ขั้นการผลิตและขั้นหลังการผลิต เน้นการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด เพื่อตอบสนองตลาดผู้ชมมากขึ้น ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ พบว่า ช่วยขับเคลื่อนทั้งด้านอุปทาน คือการผลิตให้ได้คุณภาพ และด้านอุปสงค์ คือ การสื่อสารกระตุ้นความสนใจไปยังผู้ชม และการนำทุนวัฒนธรรมประยุกต์เป็นส่วนหนึ่งในเนื้อหาละครรูปแบบความคิด ความเชื่อ สิ่งแวดล้อมและสถานที่ท่องเที่ยวและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไทยลงไปในเนื้อเรื่อง เพื่อสร้างความโดดเด่นและตัวสะท้อนคุณค่าเชิงพาณิชย์ของการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ ได้แก่ คุณภาพการผลิต ความนิยม รางวัลที่ได้รับและนักแสดงที่เป็นที่รู้จัก


                The research The Application of Creative Economy to Remaking Thai Television Drama. The objective is to study the process of reproducing Thai television dramas. Using qualitative research methods, In-depth interview. The population was 35 people, divided into 3 groups: The managers of the TV station, Producers, Directors who had been reproduced in the free TV digital satellite systems at least 3 shows from 2014-2019. And ease of providing the information of the contributors to important information. 3 people in each group, totaling 9 key informants.


                The results showed, That had been applied; there are creative thinking, technology and culture capital in production remaking process Thai television drama four steps of creative thinking; Planning, Pre-Production, Production and Post-Production. That focuses on the marketing analysis and searching for deciding to genre, performers, crew and script writing. The technology has been used to help drive both supply; quality and the demand; communication compelling to the viewer. Applying cultural capital as part of content; ideas, beliefs, environment and tourist attractions, and historical stories of Thailand. Reflects the commercial value; good production quality, high rating, received awards and an actress known.

Article Details

Section
Dissertations

References

กมลรัฐ อินทรทัศน์. (2554). แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ หน่วยที่ 1-5. (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ระยะที่ 2. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2561, จาก www.m-culture.go.th/policy/files/329/Asian.pdf.

กัญญพิชญ์ ปวิดาภา. (2554). การคัดเลือกและฝึกฝนนักแสดงสำหรับหนังสั้นในมิติเพศวิถีโครงการ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 3(2554): 92-100.

กาญจนา แก้วเทพ. (2547). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ เลิฟ.

แข มังกรวงษ์. (2560). แนวทางการสร้างสรรค์โทรทัศน์ไทยที่ผลิตซ้ำโครงเรื่องเดิม. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล, 1(24), 121-130.

คอตเลอร์, ฟิลลิป. (2552). หลักการตลาด ฉบับมาตรฐาน และนิยามศัพท์การตลาด. (วารุณี ตันติวงศ์วาณิช และคณะ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

ชล อุดมพานิช. (2555). การเลือกซื้อลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศเพื่อมาผลิตในประเทศไทย. สารนิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เชาวลิต โกกิจ. (2555, มิถุนายน-ธันวาคม). การบริหารการผลิตภาพยนตร์ต้นทุนต่ำ. JC Journal. 4(3): 160-175.

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2558). หน่วยที่ 3 การสร้างสารและการสื่อความหมายในรายการโทรทัศน์. ใน ชุดวิชา 16347 การสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนิก เลิศชาญฤทธิ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร องค์การมหาชน.

ธัชภรณ์ ศรีเมือง. (2562). บทวิเคราะห์นวัตกรรมกับวัฒนธรรมไทยในศตวรรษที่ 21: การสร้างนวัตกรรม ทุนทางวัฒนธรรม และเศรษฐกิจสร้างสรรค์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 (4th TECHCON 2018 and 2nd ITECH 2018): 72-86.

ธิติพร จุติมานนท์. (2546). ธุรกิจละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2545. วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตร มหาบัณฑิต (สาขาการบริหารสื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นภดล อินทร์จันทร์, พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ, วิรุณ ตั้งเจริญ และสุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2555). ภาพยนตร์ชุดเกาหลี: กรณีศึกษากระแสคลื่นวัฒนธรรมเกาหลีในสังคมไทย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 14(1): 132-144.

พทัยนุช บุศน้ำเพชร. (2557). กลยุทธ์ของผู้จัดละครโทรทัศน์ในกระบวนการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กรณีศึกษาคุณยศสินี ณ นคร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2557. (3 เมษายน 2557). 745-754.

พลอยพรรณ มาคะผล. (2558). ละครรีเมกกับการถ่ายโยงเนื้อหาในละครโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาสื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2556). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์. 7(1): 1-69.

ภูมิชนะ หนูชูแก้ว. (2558). การบริหารรายการโทรทัศน์ที่ซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ: ศึกษาเฉพาะกรณีรายการซุป'ตาร์ปาร์ตี้. สารนิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารการสื่อสาร). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

รพีพรรณ เพชรอนันต์กุล และประเทือง ทินรัตน์. (2558). คุณค่าที่มีต่อสังคมของละครโทรทัศน์ที่ผลิตซ้ำ. วารสารไทยศึกษา. 11(1): 99-119.

ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์. (2560). ความคิดสร้างสรรค์กับการผลิตรายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สมสุข หินวิมาน. (2557). ศาสตร์ว่าด้วยสังคมและทฤษฎีการสื่อสาร. ใน ประมวลสาระชุดวิชา ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552). รายงานการศึกษาเบื้องต้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: บี.ซี.เพลส (บุญชิน).

สุชาติ จงประดิษฐ์. (2559). อิทธิพลของการใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) ระดับ 5 ดาว ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (สาขาบริหารธุรกิจ). มหาวิทยาธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

องอาจ สิงห์ลำพอง. (2557). กระบวนการผลิตละครโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: สามลดา.

อัมพร จิรัฐติกร. (2561). เศรษฐกิจเชิงอารมณ์ของละครไทยกัมพูชาและจีน. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา. 37(2): 97-128.

Anderson, R.D. (1970). Developing children, s thinking through science. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Csikszentmihalyi, M. (1996). Flow and The Psychology of Discovery and invention. New York: Harper Collins Publishers.

Guilford, J.P. (1959). Fundamental Statistics in Psychology and Education. New York: McGraw-Hill.

Marketing Oops. (2562, มีนาคม 5). วิเคราะห์ตอนที่ 1: เปิดปมวิกฤตการณ์ “ช่อง 3” รายได้–กำไรลด เข้าสู่ภาวะขาดทุนในรอบ 4 ทศวรรษ. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www. marketingoops.com/news/ biz-news/channel-3-bec-world-crisis/.

McQuail, D. (2010). McQuail’s Mass Communication Theory. (6th ed.). Los Angeles: SAGE Publications.

Osborn, A. F. (1957). Applied Imagination. New York: Charles Scribners.

Torrance, E. P. (1962). Guiding creative talent. New Jersey: Prentice Hall.

Verevise. C. (2004). Remaking Film. In Film Study: ReserchGate. 4(Summer 2004): 86-103.