การวิเคราะห์งานวิจัยเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน Research Synthesis: Guidelines for Science Project Development in Basic Education

Main Article Content

วริยากร อัศววงศานนท์ และคณะ Variyakon Assavawongsanon and Others

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาในประเทศไทยที่เกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา ที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2560 จำนวน 45 เล่ม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมิน คุณลักษณะของงานวิจัยและแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางโครงงานวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ตารางไขว้ และการวิเคราะห์เนื้อหา


                ผลการวิจัยพบว่า ในด้านคุณลักษณะงานวิจัย สาขาที่มีการทำโครงงานวิทยาศาสตร์มากที่สุด คือ สาขาหลักสูตรและการสอน วัตถุประสงค์ที่ใช้ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์มากที่สุดคือเพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทฤษฎีที่ใช้ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์มากที่สุดคือทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และเครื่องมือที่ใช้วัดและสังเกตตัวแปรมากที่สุดในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์คือแผนการจัดการเรียนรู้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานดังนี้ คือ ควรมีวัตถุประสงค์ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ให้ชัดเจน ออกแบบโครงงาน และรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เหมาะสมกับความแตกต่าง และความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน โดยนำแนวคิด ทฤษฎีและเครื่องมือมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยที่ผู้เรียนควรได้รับการสนับสนุนที่ดีจากครูผู้สอน โรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง ทั้งนี้ควรจัดเวทีในการนำเสนอโครงงานจากทั้งทางภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสเสนองานนวัตกรรมทางด้านโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน


             This study aimed to analyze the characteristics of graduate-level research on science projects in Thailand in order to propose appropriate guidelines for the development of science projects in basic education. The samples were 45 graduate-level theses on science projects published from 2013 to 2017. Research evaluation and expert interviews were employed. Frequency, percentage, cross tabulation, and content analysis were applied.


              The result revealed that most research in science projects done were in the field of Curriculum and Instruction. While the research objectives were to investigate science process skills and to compare learning achievements, the most application of theory was constructivism with the most used instrument of a lesson plan. Guidelines recommended by the experts for science project development in basic education were: The application of clear project objective and design, on the basis of student-centered instruction that meet the needs and competence of each leaner, with proper theories and tools to reach leaning objectives, and with support offered by teachers, school administrators, and parents. Ultimately, those science projects should be opened to the opportunity for presentation and be promoted by the public and the private sectors in order to for the students in basic education to present their own technological and scientific innovations for the continuous and sustainable development of Thailand in the 4.0 era.

Article Details

Section
Dissertations

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

จุฑามาศ บุญทวี. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ดิเรก พรสีมา. (2559). ครูไทย 4.0. กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=46603&Key=news_research

นภาภรณ์ เพียงดวงใจ, และมาเรียม นิลพันธ์. (2560). การการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกันการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(2): 190-204.

นรินทร์ วงศ์คำจันทร์. (2558). การสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

นิติบดี ศุขเจริญ, และวัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล. (2557). การวิเคราะห์อภิมานและการสังเคราะห์อภิมาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(3): 53-65.

น้ำฝน คูเจริญไพศาล. (2560). ความสามารถในการทดลองทางวิทยาศาสตร์และทักษะการสื่อสารของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2): 71-84.

นันทิชา ม่วงปาน, และ มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2560). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในสถานศึกษา ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2558. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(3): 1-17.

ปรีดา มาหินกอง. (2559). การเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการทำโครงงานวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้การวิจัยเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (สาขาการสอนวิทยาศาสตร์). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

พรชัย เจดามาน, เผชิญ กิจระการ, ไพรฑูรย์ พิมพ์ดี, กลวัชร วังสะอาด, อัครพงศ์ สุขมาตร์, และเจริญ สุขทรัพย์. (2559). การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2557). แนวทางการพัฒนางานวิจัยเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา กรณีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(12): 1198-1216.

รัตติยาพร ฟูแสง. (2561). การพัฒนากิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

รุ่งทิวา การะกุล, และประสาท เนืองเฉลิม. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(2): 38-53.

เลิศพร อุดมพงษ์, วันดี โค้ไพบูลย์, และสวนีย์ เสริมสุข. (2555). การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 25(3): 313-355.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสยามกัมมาจล, กรุงเทพฯ.

วราภรณ์ พันธุ์แก้ว, สำราญ กำจัดภัย, และอุษา ปราบหงษ์. (2560). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ส่งผลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาโดยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน. วารสารวิชาการ หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(25): 81-91.

วิลาวัณย์ พรพัชรพงศ์. (2556). การวิเคราะห์เนื้อหาวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น วารสารมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 32(1): 95-107.

สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย. (2561). โครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (นักวิทย์ นักทรูน้อย 2561). สืบค้นจาก www3.truecorp.co.th/inverstor/entry/1420.

สุนันท์ สีพาย, และไพฑูรย์ ลินลารัตน์. (2561). เปลี่ยนผ่านการศึกษาไทยสู่การศึกษา 4.0. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2): 13-27.

เสาวลักษณ์ วรครบุรี. (2560). โปรแกรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ยึดโครงงานเป็นฐานสำหรับห้องเรียนศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(99): 175-187.

โสภนา สุดสมบูรณ์. (2552). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 2(3): 11-37.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2561 สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Amy, C. & Michael, C. (2016). Secrete of successful science projects. Retrieved from www. researchgate.net/publication/311969328_Secrets_of_Successful_Science_Projects

Johnson, S. A., & Cuevas, J. (2016). The Effects of inquiry project-based learning on student reading motivation and student perceptions of inquiry learning processes. Georgia educational researcher 13(1): 51-85.

National Research Council. (2000). Inquiry and the national science education standards: A Guide for teaching and learning. Washington, DC: National Academy Press.

Trigueros, R. (2018). Lesson plan lesson plan. Article in English language teaching, February 2018: 1-33.