ผลของโปรแกรมการฝึกร้องเพลงที่มีต่อความใส่ใจของวัยเด็กตอนปลาย Effect of Singing Practice Program on Attention of Late Childhood
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกร้องเพลงที่มีต่อความใส่ใจของวัยเด็กตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ห้องเรียน (ห้องเรียนละ 29 คน) ผู้วิจัยสุ่มห้องเรียนเข้าสู่กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย ผู้วิจัยสุ่มห้องเรียนเข้าสู่กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการฝึกร้องเพลง ซึ่งประกอบต้วย 7 กิจกรรม จำนวน 7 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และแบบวัดความใส่ใจTrail Making Test A โดยวัดจากความถูกต้องและระยะเวลาที่ใช้ในการทำแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบทีแบบเป็นอิสระจากกัน และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน โดยก่อนการทดลอง คะแนนเฉลี่ยของความใส่ใจของทั้ง 2 กลุ่มมีความเท่าเทียมกัน
ผลวิจัย พบว่า เมื่อทดสอบนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ของกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 3.92, p < .001) และเมื่อตรวจสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ ของกลุ่มทดลองพบว่าเท่ากับ 31.24 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 42.89 ( = 31.24 , SD = 42.89) ของกลุ่มควบคุมพบว่าเท่ากับ 31.50 ( = 16.23 , SD = 31.50) อย่างไรก็ตาม เมื่อทดสอบนัยสำคัญทางสถิติ พบว่า คะแนนของกลุ่มทดลองลดลงมากกว่าของกลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 1.519, p > .134) โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ ของกลุ่มทดลองเท่ากับ 110.59 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 50.10 และคะแนนเฉลี่ยหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ของกลุ่มทดลองเท่ากับ 79.35 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 33.67 การลดลงของค่าเฉลี่ยของคะแนนแสดงว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความใส่ใจเพิ่มขึ้น
The purpose of this research is to study the impact of the singing practice program on late childhoods’ attentions. The samples include second grade students, enrolled in public schools, Bangkok. These samples has separated into two classrooms, testing group and control group, which contain 29 students per class. The researcher gave the treatment, singing practice program, to the control group and the experimental group using simple random method. Research tools include practice program. Which consists of 7 activities, 7 hours, 2 times a week, and the Trail Making Test , based on the accuracy and duration of the test. Independent testing and non-independent testing have been utilized as the quantitative data analysis tool.
Moreover, when testing for statistical significance, comparing scores from both testing and control group the scores after using the program with the testing group decreased significantly at the level of .01 (t = 3.923, p <.001). By examining the difference of average scores before and after joining the program of the testing group, the study found that it was 31.24 and the standard deviation was 42.89 ( = 31.24, SD = 42.89) of the control group was 31.50 ( = 16.23, SD = 31.50). The statistical significance test; however, found that the scores of the experimental group were significantly lower than the control group (t = 1.519, p > .134). By comparing students attention in testing group before and after using the treatments as well as students’ attention in both testing and control groups, as the first result, the scores before joining the program of the experimental group equal to 110.59 and with standard deviation equal to 50.097 (M = 110.59, SD = 50.10) while the scores after joining the program of the experimental group was 79.35 and the standard deviation was 33.67 (M = 79.35, SD = 33.67). This means, there is decreasing in average scores which shows that after applying singing practice program students in the testing group has increased awareness of learning.
Article Details
References
จเร สำอางค์. (2553).ดนตรีเล่นสมองแล่น = Music Can Change. สมุทรปราการ: จ. สำอางค์, Print.
ดาวรุ่ง ริ้วงาม. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมสวดมนต์ภาวนาแบบคาทอลิกที่มีต่อการพัฒนาสมาธิของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3. Veridian e-Journal (International Humanities, Social Sciences and arts), 6(3), 29-41.
บุษกร โยธานัก. (2555). พัฒนาการของเด็กวัยเรียน 6 – 12 ปี. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://www.gotoknow.org/posts/305078%5D
ประณต เค้าฉิม. (2526). จิตวิทยาเด็ก. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
พนม เกตุมาน. (2550). ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในนักเรียนและแนวทางการแก้ไข. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.psyclin.co.th/new_page_53.htm
พรรณธิดา สายตา. (2555). ทักษะการรับรู้ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการฝึกสมาธิก่อนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
พระธรรมปิฎก. (2550). พุทธธรรม (ฉบับเดิม) (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระมหาสุริยันต์ สัตตะยากุมภ์ และ อนุสรณ์ อรรถศิริ.(2555). ผลของการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อพฤติกรรมการตั้งใจเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดปทุมวนาราม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
มณีรัตน์ ภูทะวัง, ทัศนีย์ นาคุณทรง และ ภูษิต บุญทองเถิง. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อฝึกสมาธิเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
รชต ถนอมกิตติ. (2560). ผลของโปรแกรมการเต้นแอโรบิกที่มีต่อสมาธิของเด็กก่อนวัยเรียน (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 9, แก้ไขเพิ่มเติม.. ed. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553. Print.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชา จันทน์เอม. (2543). จิตวิทยาเด็ก (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Bandura, A. (1977). Social learning theory. Englewood Cliffs, N.J: Prentice Hall.
Correia, S., et al. (2015). Lowering the Floor on Trail Making Test Part B: Psychometric Evidence for a New Scoring
Metric. Retrieved 25 August 5019, From https://www.researchgate.net/publication/
_Lowering_the_Floor_on_Trail_Making_Test_Part_B_
Psychometric_Evidence_for_a_New_Scoring_Metric#pfd
Lyon, G. R., & Krasnegor, N. A. (1996). Attention, memory, and executive function. Baltimore: P.H. Brookes Pub. Co.