การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ถิ่นวีรชนจังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Development of a Learning Package on Singburi History of Local Heroes, for Social Studies, Religions and Cultures Education Group for Matthayomsuksa 2

Main Article Content

เบญจรัตน์ ขุนศิริ Benjarat Kunsiri

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ถิ่นวีรชนจังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   2) เปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง ประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ถิ่นวีรชนจังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) ศึกษาความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ถิ่นวีรชนจังหวัดสิงห์บุรี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางระจันวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้อง รวม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง ประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ถิ่นวีรชนจังหวัดสิงห์บุรี มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.772 และแบบประเมินความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ถิ่นวีรชนจังหวัดสิงห์บุรี มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.934 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที แบบ dependent


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.11/82.66 2) ความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง ประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ถิ่นวีรชนจังหวัดสิงห์บุรี ของนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 หลังเรียน สูงกว่า    ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ถิ่น วีรชนจังหวัดสิงห์บุรี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


              The purposes of this research were: 1) to develop of a learning package on Singburi History of Local Heroes, for Social Studies, Religions and Cultures Education Group for Matthayomsuksa 2, 2) to compare knowledge and understanding of students before and after the study on Singburi History of Local Heroes, for Social Studies, Religions and Cultures Education Group for Matthayomsuksa 2, 3) to study the student’s pride in Singburi History of Local Heroes of Students in Matthayomsuksa 2. The research was using for students in Matthayomsuksa 2 of Bangrachanwittaya school, academic year 2018, total number of students is 30 students. The research instruments used in this study were: a learning package, knowledge and understanding test on Singburi History of Local Heroes with the reliability of 0.772 and Evaluation form on pride in Singburi History of Local Heroes with the reliability of 0.934, Data were analyzed in form percentage, mean, standard deviation, and t-test dependent.


                The findings showed that 1) A learning package had efficiency of 85.11/82.66, 2) Knowledge and understanding of students was after using the developed learning package higher than before at a significance of level of .05, 3) The level of overall student’s pride in Singburi History of Local Heroes of Students in Matthayomsuksa 2 were at a highest level.

Article Details

Section
Dissertations

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กัณฐาภรณ์ พานเงิน. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ชีวิตแบบพอเพียงอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องชุมชนริมน้ำจันทบูร กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.

กิจจา จริยะประดับ. (2545). การพัฒนาเครื่องมือวัดการเห็นคุณค่าอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมและภูมิใจในความเป็นไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

จิรนันท์ ขุนทอง. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กลุ่มชาติพันธุ์ในอรัญประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอรัญประเทศ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต(สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.

เฉลิมศรี ไชยบุดดี. (2554). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมด้านความภูมิใจในความเป็นไทยของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ชุติมา ศิริวงศ์. (2551). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางประวัติศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, สงขลา.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2532). ชุดการสอนระดับประถมศึกษา เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนระดับประถมศึกษา หน่วยที่ 8-15. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยศ โพธิ์ศรี. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองจันเสนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ธนา ธุศรีวรรณ, และบุษบง พุฒพรหม. (ม.ป.ป.). โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถการเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2559, จาก http://www.obec.go.th/news/74105.

บริบูรณ์ ชอบทำดี. (2559). การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

บัณฑิตา ลิขสิทธิ์. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องประวัติศาสตร์ไทยและความภาคภูมิใจในความเป็นไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จากการสอนสาระประวัติศาสตร์ไทยที่ใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติร่วมกับการใช้สื่อรับรู้ทางสายตา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาพิเศษ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

เลิศศิริ เต็มเปี่ยม. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะภูมิศาสตร์ ด้วยการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

สาวิตรี ม่วงพรวน. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย เรื่อง อาณาจักรอยุธยา สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Sasse, C.R. (1978). Person to Person. Peoria, Illinois : Benefit Publishing.