การจัดกลุ่มผู้ประกอบอาหารตามพฤติกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับการออกแบบรายการอาหารในอุตสาหกรรมโรงแรม : โรงแรมประเภทให้บริการแบบหรูหราและโรงแรมที่ให้บริการแบบหรูเหนือกว่าเกณฑ์มาตรฐาน A Cluster Analysis of Cook based on Creative Development Behavior for Food Menu Design in the Hotel Industry: Luxury full service Hotels and Upper-upscale full service Hotels

Main Article Content

ณนนท์ แดงสังวาลย์ Nanoln Dangsungwal
ประสพชัย พสุนนท์ Prasopchai Pasunon

Abstract

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สารสนเทศ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับการออกแบบรายการอาหารของผู้ประกอบอาหาร และจัดกลุ่มเพื่อหาคุณลักษณะของผู้ประกอบอาหาร ตามพฤติกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับการออกแบบรายการอาหารในอุตสาหกรรมโรงแรม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 318 คน การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มด้วยวิธีการจัดกลุ่มแบบไม่เป็นขั้นตอน  ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบอาหารส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่บ้านทุกวัน ผ่านการใช้มือถือในช่วงเวลาก่อนนอน ระยะเวลาในการใช้ 21-40 นาที แหล่งสารสนเทศที่นิยมใช้ คือ กูเกิล (Google) มีระยะเวลาการใช้มานานมากกว่า 5 ปี มีพฤติกรรมความคิดสร้างสรรค์ การแสวงหาสารสนเทศ การใช้สารสนเทศ และความเป็นอิสระ ในการทำงาน อยู่ในระดับมาก และ 2) จากการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม “มาสเตอร์เชฟ” มีสมาชิก 118 คน คิดเป็นร้อยละ 37.42 เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับการออกแบบรายการอาหาร ในอุตสาหกรรมโรงแรมระดับมาก ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารงานในครัวระดับสูง และปฏิบัติงานในกลุ่มโรงแรมประเภทให้บริการแบบหรูหรา กลุ่ม “สเปเซียลเชฟ” มีสมาชิก 117 คน คิดเป็น ร้อยละ 37.11 เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับการออกแบบรายการอาหาร ในอุตสาหกรรมโรงแรมค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารงานครัวระดับต้น และปฏิบัติงานในกลุ่มโรงแรมประเภทให้บริการแบบหรูหรา และ “กลุ่มจูเนียร์เชฟ” มีสมาชิก 81 คน คิดเป็น ร้อยละ 25.47 เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับการออกแบบรายการอาหารในอุตสาหกรรมโรงแรมน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นพนักงานตำแหน่งพ่อครัวและผู้บริหารงานครัวระดับต้น และปฏิบัติงานในกลุ่มโรงแรมที่ให้บริการแบบหรูเหนือกว่าเกณฑ์มาตรฐาน


               The aims of this research were to study information technology use behavior for creative development for menu design of cook and to cluster a group of the cook based on creative development behavior for menu design in the hotel industry case study of the luxury full service hotels and upper-upscale full service hotels. The sample was totally 318 persons, the statistic to analyze the data included frequency, percentage, mean, standard deviation, and discriminant analysis by K – means cluster analysis. The result of this study shows as follows: 1) the most of the cook uses an internet at home every day before bedtime for 21-40 minutes, uses a Google as a channel to get information, have used more than 5 years. Having a high level in creative behavior, searching and using information technology behavior and job autonomy. 2) the result of K-Mean clustering analysis divided into 3 groups, namely “Master chef” comprised 118 persons (37.42 %) had high levels of having creative development behavior for menu design, mostly works as senior chef in the luxury full service hotels. Namely, “Special chef” comprised 117 persons (37.11 %) had low levels of having creative development behavior for menu design, mostly works as junior chef and cook in the luxury full service hotels. Lastly, namely “Junior chef” comprised 81 persons (25.47 %) had very low level of having creative development behavior for menu design, mostly works as a cook and junior chef in the upper-upscale full service hotels. 

Article Details

Section
Research Articles

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ธุรกิจโรงแรม บทวิเคราะห์ธุรกิจประจำเดือนกันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2563, จาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562/T26/T26_201909.pdf

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิราพร ทัดพินิจ, ทองประวิตร จำปาเงิน, และปรัชญนันท์ นิลสุข. (2555, กรกฎาคม–ธันวาคม). การวิเคราะห์สมรรถนะอาชีพของพ่อครัวในโรงแรม. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 2: 50-58.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2558). เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย: แนวทางสู่ความสำเร็จ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ธนกร คงรัตน์. (2560). ปัจจัยด้านการจัดการไอเดียความคิดสร้างสรรค์และสมรรถนะของบุคลากรที่ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, (การบริหารเทคโนโลยี). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นิธิไกร พันธประวัติ, และเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว. (2560, ตุลาคม-ธันวาคม). ทักษะการใช้อินเทอร์เน็ตของ พนักงานเครือโรงแรมไทยในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(100): 208-219.

พิชญา วัฒนะรังสรรค์, และชลวิช สุธัญญารักษ์. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ พนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาว ย่านสยามสแควร์. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1): 71-79.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2559). คิดสร้างสรรค์: สอนและสร้างได้อย่างไร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภคพร กระจาดทอง (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของเชฟในโรงแรมในประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, (บริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี). มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2562). ธุรกิจโรงแรม. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2563, จาก https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2020/01/IN_hotel_12_62_detail-1.pdf

สิริชัย ดีเลิศ. (2558, พฤษภาคม-สิงหาคม). กระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีอัตลักษณ์เชิงสร้างสรรค์. Veridian E-Journal, Slipakorn University. 8(2): 1341–1360.

สิริภร สุวรรณโชติ. (2559). รูปแบบการพัฒนาผู้บริหารระดับกลางของธุรกิจโรงแรม เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถานการณ์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ม.ค.-มิ.ย.61. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2562, จาก https://secretary.mots.go.th/index.php

Annie, C., Norman, P., and Kuang-peng, H. (2016). Chef image’s influence on tourists’ dining experiences. Annals of Tourism Research, 56: 128–163.

Charalampos, G., Evangelia, L. M., and Cooper, J. (2016). Chefs’ future competencies needs in the UK: the stakeholders’ perspectives. Retrieved November 29, 2019, from https://www.researchgate.net /publication/308413854_Chefs'_future_competencies_needs_in_the_UK_the_stakeholders'_perspectives Dinesh, A. M., and Albert, L. L. (2006). The impact of autonomy on information systems planning effectiveness. Omega, 36: 789–807.

Ikushi, Y. (2012). A Japan–US cross-cultural study of relationships among team autonomy, organizational social capital, job satisfaction, and organizational commitment. International Journal of Intercultural Relations, 37: 58–71.

Richard, N. S. R., and Lisa, G. B. (2010). Linkages between creativity and intention to quit: An occupational study of chefs. Tourism Management, 31: 765–776.

Sung, G. M., Linda, W., and Soyon, P. (2019). How important is F&B operation in the hotel industry? Empirical evidence in the U.S. market. Tourism Management, 75: 156–168.