การเปรียบเทียบทักษะการสร้างเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาของนิสิต ระหว่างการเรียนโดยใช้แบบฝึกประกอบการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มร่วมมือ แบบ LT กับการสอนแบบกลุ่มปกติ The Comparisons of Skills in Inventing Instruments of Students for Learning Assessment, Teamwork Skills and Learning Achievement in “Educational Evaluation” between On-Going Learning by Using Exercises of LT Collaborative Learning Model and Conventional Method

Main Article Content

อพันตรี พูลพุทธา Apantee Poonputta

Abstract

                   การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสร้างเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ และทักษะการทำงานเป็นทีมของนิสิต รายวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ระหว่างการเรียนโดยใช้แบบฝึกประกอบการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มร่วมมือ แบบ LT กับการสอนแบบกลุ่มปกติ  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต รายวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ระหว่างการเรียนโดยใช้แบบฝึกประกอบการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มร่วมมือ แบบ LT กับการสอนแบบกลุ่มปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2561 จำนวน 2 กลุ่ม ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  โดยกลุ่มทดลอง ได้แก่ นิสิตสาขาภาษาไทย กลุ่ม 13 และกลุ่มควบคุม ได้แก่ นิสิตสาขาภาษาไทย กลุ่ม 14 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ แบบ LT ร่วมกับแบบฝึก  แบบประเมินทักษะการสร้างเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้  แบบวัดทักษะการทำงานเป็นทีม  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการสร้างเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent Samples) และ Hoteling T2  ผลการศึกษาพบว่า 


                 1. นิสิตที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มร่วมมือ แบบ LT มีทักษะการสร้างเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ และทักษะการทำงานเป็นทีม วิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา สูงกว่านิสิตที่เรียนแบบกลุ่มปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                  2. นิสิตที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มร่วมมือ แบบ LT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา สูงกว่านิสิตที่เรียนแบบกลุ่มปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   


                  The objectives of the research were 1) to compare teamwork skills and skills in inventing instruments of the university students for learning assessment in “Educational Evaluation” between on-going learning exercises of LT collaborative learning model and conventional method and 2) to compare learning achievement in “Educational Evaluation” between on-going learning exercises of LT collaborative learning model and conventional method. The sample subjects of the study were two groups of undergraduate students at Mahasarakham University who studied “Educational Assessment and Evaluation” in the second semester of 2018. They were selected by cluster random sampling. The students in class 13 of Thai program were an experimental group, and the students in class 14 of Thai program were a control group. The research instrument was lesson plans and exercises of LT collaborative learning model, an assessment test of skills in inventing instruments for learning assessment, teamwork skills and learning achievement on the topic of “Constructing Learning Assessment Instruments”. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, t-test for independent samples and Hoteling T2. Results of the research were as follows:   


                 1. The results indicated that the skills of the students in inventing an instrument for learning assessment and teamwork skills between using the exercises of LT collaborative learning model were significantly higher than those of the conventional method at the .05 level.  


                  2. The results indicated that learning achievement between using the exercises of LT collaborative learning model were significantly higher than those of the conventional method at the .05 level.

Article Details

Section
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562, 26 กุมภาพันธ์). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562.

ครองสา ดีสร้อย. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และเจตคติต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนแบบปกติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด: ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2554). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: เดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ถวัลย์ มาศจรัส. (2546). นวัตกรรมการศึกษาชุดบทเรียนสำเร็จรูป. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

ทิศนา แขมมณี. (2560). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรดล ภูบานเช้า. (2552). การเปรียบเทียบผลการเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือตามเทคนิค STAD เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน (LT) และการเรียนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การวิจัยทางการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

บุญญลักษม์ ตำนานจิตร. (2561, กรกฎาคม-ธันวาคม). เทคนิคการสอนแบบร่วมมือ (Learning Together: LT) สำหรับการเรียนการสอนสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในยุค Thailand 4.0. วารสารห้องสมุด. 62(2): 18-34.

เบญจมาภร์ เสนารัตน์ และสมประสงค์ เสนารัตน์. (2560). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง. วันที่ 4 ตุลาคม.

ศิริปิยะวรรณ ศิริโนนรัง และเยาวภา ประคองศิลป์. (2555, มกราคม – มีนาคม). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบร่วมเรียนร่วมรู้ (Learning Together: LT) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 6(1), 141-147.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. (ออนไลน์).สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อยางไร. กรุงเทพฯ: พิมพ์การดีพิมพ์.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2562). หลากหลายวิธีสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2561). นวัตกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2560). สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). แพร่: แพร่ไทยอุตสาหการพิมพ์.

อพันตรี พูลพุทธา. (2554). รายงานการวิจัยเรื่อง ผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การวิเคราะห์หาคุณภาพข้อสอบรายข้อ รายวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม.

อรอนงค์ โฆษิตพิพัฒน์. (2561, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นทีมด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือทำงานเป็นทีม ในรายวิชาสัมมนาวารสารศาสตร์ สำหรับนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ ระดับชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการ. วารสารครุพิบลู, 5(1), 77-86.

Johnson, R.T. and Johnson, D.W. (1994). The Nuts and bolts of cooperative learning. Edina, Minnesota: Interaction Book Company.