การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 Development of Learning Unit Historical Methods That Promotes Learning Achievement and Local Pride for Matayomsuksa 3 Students

Main Article Content

ชัยวัฒน์ ทองเพ็ช Chaiwat Thongphet

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหน่วยการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) และศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ ซึ่งมีประเด็นดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ 2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 2.3) ศึกษาความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล) จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ 2) หน่วยการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบวัดความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที


                 ผลการวิจัยพบว่า   1.หน่วยการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะสมขององค์ประกอบหน่วย การเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด  2.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความภาคภูมิใจในท้องถิ่น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความภาคภูมิใจในท้องถิ่น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความภาคภูมิใจในท้องถิ่น มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก


                 The purposes of research were 1) Development of Learning Unit Historical Methods That Promotes Learning Achievement and Local Pride for Matayomsuksa 3 Students, and 2) result of using learning unit in three points. 2.1) compared between Matayomsuksa 3 students’ pretest and posttest learning achievement that promoted local pride, 2.2) compared between Matayomsuksa 3 students’ learning achievement with 75% of standard score, and 2.3) studied Matayomsuksa 3 students’ local pride learning unit that promoted local pride. The research participants were 40 students in Matayomsuksa 3/1 that studied in term  academic year 2019 Phrayasuren (Bunmee-Anukun) School, The samples were selected by cluster random sampling. The instruments used in the research were 1) basic information questionnaire about demand of development of learning unit for basic education, 2) learning unit historical methods, 3) management plans, 4) achievement test with 30 items of multiple choices, 5) local pride questionnaire. Data was analyzed using mean, percentage, standard deviation, t-test for dependent samples and t-test one group.


                The research findings were as follows:   1.The composition’s appropriateness of learning unit historical methods that promotes learning achievement and local pride for Matayomsuksa 3 students has the high level.    2. Matayomsuksa 3 students’ posttest learning achievement was more than pretest at the significantly statistical level of .05.  3.Matayomsuksa 3 students’ posttest learning achievement was higher than 75% of standard score at the statistical level of .05.  4.Matayomsuksa 3 students’ local pride learning unit that promoted local pride with historical methods had the high level.

Article Details

Section
Dissertations

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2548). คู่มือการดำเนินงานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตามแผนปฏิบัติการกรมพัฒนาชุมชน. กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา คุณารักษ์. (2540). หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เฉลิมศรี ไชยบุดดี. (2554). การพัฒนาคุณธรรม ด้านความภูมิใจในความเป็นไทยของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ฐานปกรณ์ จิ๋วสุข. (2562). การหน่วยการเรียนรู้บูรณาการท้องถิ่น “เมืองทัพทัน” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ชัยวุฒิ นาทะกุณา. (2557). การใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. (การสอนสังคมศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธิดาพร เกราะกระโทก. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ภูมิปัญญา ท้องถิ่น และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

นเรนทร์ แก้วใหญ่. (2559). ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน: การพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา.ในวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก. (หน้า 108-123). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.

เบญจมาศ บุญญะวัติพงศ์. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์และการคิดวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์การครุศาสตรมหาบัณฑิต. (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รุจิรา กิตติวงศ์ตระกูล. (2556). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ป่าสวยน้าใสบึงวิชัยแสนสุข กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิลาสินี วัฒนมงคล. (2561,มกราคม-มิถุนายน). วิกฤตการศึกษาไทยในยุค 4.0 ศึกษาศาสตร์. มมร. 6(1): 438.

สิริวรรณ ศรีพหล. (2553). การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). เอกสารการนิเทศใช้แหล่งเรียนการเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อรวรรณ โหนแหยม. (2557). บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุดม เชยกีวงศ์. (2545). แนวทางการบริหารและการจัดการ: การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ 1991.

อุษา สระสันเทียะ. (2561). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องเปิดประตูสู่อาเซียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Driver R. and B. Bell. (1986). Students thinking and the learning of science; A constructivist View. School Science Review: 67.

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. 3^rd ed. New York : McGraw-Hill.

Saylor. J.Galen. Alexander. (1981). William M. and Lewis, Arthur J. Curriculum Planing for Better teaching and learning (4^th ed.) New York: Holt, Rinehart & Winston.

Michael P. Marino. (2012). “Urban Space as a Primary Source: Local History and Historical Thinking in New York city” in The Social Studies. 03: 107-116.

Wither. Sarash E. (2000). Local Curriculum Develipment and Place-based Education.University of Denver, 2176.