การพัฒนาเครือข่ายครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งส่งเสริมผู้เรียน ด้านทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม A Development of Teacher’S Network in Developing Learning Activities to Enhance Creativity and Innovation Skills of Students

Main Article Content

วารีรัตน์ แก้วอุไร และคณะ Wareerat Kaewurai and Others

Abstract

                  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ของระบบเครือข่ายครูในอดีต/ที่มีอยู่ก่อน และจุดอ่อน/จุดแข็งในการดำเนินงานของเครือข่ายครู 2) เพื่อพัฒนาเครือข่ายครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ที่มุ่งส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักเรียน 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของเครือข่ายครูฯ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จ และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของเครือข่ายครูฯ เกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกโรงเรียน คือ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มุ่งเน้นงานวิชาการ และทีมงานวิชาการโรงเรียนเข้มแข็ง ระบบการทำงานโรงเรียนมีคุณภาพ จำนวน 2 โรงเรียน ครูเข้าร่วมพัฒนาตามความสมัครใจ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการณ์ของระบบเครือข่ายครูในอดีต/ที่มีอยู่ก่อน ส่วนใหญ่ยังไม่มีการกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ ที่ชัดเจนที่เอื้อต่อการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติภายในโรงเรียน 2)  เครือข่ายครูประกอบด้วยครูโค้ชและเมนทอร์ กระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายครูมีลักษณะสำคัญคือ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ครูที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ การร่วมมือกันแบบร่วมรับผิดชอบของครู การกำกับ ติดตาม ประเมิน และให้ข้อเสนอแนะ รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายครูมีความเหมาะสมนำไปปฏิบัติได้ในลักษณะของการสร้างความมีส่วนร่วมในการรับรู้และนำไปปฏิบัติร่วมกัน 3) ประสิทธิผลของเครือข่ายครู พบว่า ครูมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาให้นักเรียนเกิดทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยเป็นนวัตกรรมประเภทเทคนิควิธีการ ทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ปัจจัยแห่งความเสร็จในการดำเนินเครือข่ายครู ได้แก่ ความร่วมมือแบบร่วมรับผิดชอบ การแลกเปลี่ยนแนวคิด การสื่อสารผ่านการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินเครือข่ายครู ได้แก่ การขาดความต่อเนื่อง ระยะเวลา และภาระงานที่มาก


                 This research was in the type of research and development. The objectives of this research were to 1) study the pre-existing teacher's network conditions 2) develop teacher’s network in developing learning activities to enhance the creativity and innovation skills of students. 3) study the effectiveness of the teacher’s network. 4) study the success factors and obstacles in proceeding with the teacher’s network. Criterions were considered for this step are the director’s attention, having a vision, focus on an academic goal, high quality of school’s working system in 2 schools, and teacher’s attention. The results revealed that: 1) the pre-existing teacher’s network conditions weren’t clearly specified policy and vision to offer teachers who bring both of them for performing in their school. 2) Teacher network consists of teachers, coaches and mentors. The learning process in the teacher's network is characterized by a teacher's paradigm shift toward learning activities, teacher's collaboration, and monitoring through giving important suggestions. A model developed has suitability as participation for recognition and performance together. 3) The effectiveness mentioned that teachers have learning activities enhance creativity and innovation skills of students, classified by type of technique or method, and overall of creativity and innovation skills of students that studied with activities developed get a good level 4) The success factors are collaboration, exchange idea, efficient teamwork and communication on the other hand the obstacles are shortage of continuous improvement, lack of enough time, and overload.

Article Details

Section
Research Articles

References

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2560, จาก https://www.libarts.up.ac.th/v2/img/Thailand-4.0.pdf

คณะกรรมาธิการการศึกษาวุฒิสภา. (2552). รายงานผลการพิจารณาศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการการอุดมศึกษา เรื่องสภาพปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพมาตรฐานการอุดมศึกษา เสนอคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา โดยคณะอนุกรรมาธิการการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน).

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ บทบาทครูกับการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). การศึกษาไทย 4.0 : การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วารีรัตน์ แก้วอุไร และคณะ. (2559). การพัฒนาเครือข่ายครูนักวิจัยในการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. งบประมาณวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสภาวิจัยการศึกษา.

สิทธิพล อาจอินทร์ และคณะ. (2562). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 42(2) เมษายน-มิถุนายน, 109-124.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สรุปผลการดำเนินงาน 9 ปีของการปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2542-2551). กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น

Feurzeig W.. (2007). Toward a Culture of Creativity: A Personal Perspective on Logo’s Early Years, Legacy, and Ongoing Potential, Proceedings of the 11th European Logo Conference, pp. 1-15.

Kafai, Y.B., and Resnick, M. (1966). Constructionism in practice designing, thinking, and learning in a digital world. New Jersey: Lawrence Erilbaum Assc.

Papert, S.. (1999). Introduction: What is Logo? And Who Need It? In Logo Philosophy And Implementation. LCSI.

Trilling, Bernie and Fadel, Charles. (2009). 21st century skills: learning for life in our times. HB printing: The United States of America.