การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู Using CIRC Technique to Supporting Reading and Writing Skill in English Communication in 21st Century for Teacher Students

Main Article Content

ขวัญเกล้า ศรีโสภา Kwanklao Srisopha

Abstract

                   งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู  2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู  และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาครูชั้นปีที่ 1 วิชาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 1 หมู่เรียน ที่ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster sampling) โดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 5 แผน รวม 15 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ทักษะการอ่านและการเขียนก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักศึกษาครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                ผลการวิจัยพบว่า


               1. แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครูมีประสิทธิภาพโดยมีค่า E1/E2 = 73.13/73.70


               2. ผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


               3. ความพึงพอใจของนักศึกษาครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก


                   The objectives of the research were to study the lesson plans based on the CIRC Technique to support reading and writing skill in English communication in 21st century for teacher students ,to study reading and writing learning outcomes before and after using the CIRC technique and  to study teacher students’ satisfaction toward CIRC technique. The subject of this research was one class of Thai major teacher students in the 1st year at Dhonburi Rajabhat University who enrolled a course on English for teacher. The research design was one group pretest posttest design. The data were collected from quantitative and qualitative. The research instruments were the lesson plans based on the CIRC Technique which was included of five units for 15 hours, English reading comprehension and summary writing pretest-posttest and questionnaire used for asking students’ satisfaction toward the CIRC technique. These data were analyzed by using mean and standard deviation.


                The result of this research showed that: 


                 1. The efficiency of CIRC technique to support reading and writing skill in English communication in 21st century for teacher students has a defined criteria E1/E2 = 73.13/73.70 


                2. The English reading comprehension and summary writing ability of teacher students were increased.   


                3. Teacher students were satisfied toward the CIRC teaching technique at a high level.

Article Details

Section
Research Articles

References

กชนันท์ ข่มอาวุธ. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ สามพราม จังหวัดนครปฐม ที่สอนด้วยเทคนิค CIRC กับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2546). เทคโนโลยีการศึกษา: ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ภาวดี จิตตามัย. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกับเทคนิค CIRC และจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนเพื่อการสื่อสารแบบ 3Ps. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

รัสสริน. (2561). ผลสำรวจชี้ความสามารถภาษาอังกฤษของคนไทยตกอันดับกราวรูด 11 อันดับ อยู่ในระดับต่ำ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 1 ก.พ. 2561, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2018/11/ef-education-first-english-survey-2018/

ละมัย โคตรโสภา. (2547). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยการประยุกต์ใช้วิธีร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสานกับการสอนเพื่อการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.

ลักขณา บุญณรงค์. (2556). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับประเพณี ของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มประชาคมอาเซียน โดยการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิคการบูรณาการการอ่านและการเขียน (CIRC) สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2545). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

______. (2548). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัลลภ ดาศรี. (2557). รายงานการใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสาน (CIRC) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ จากนิทานอีสป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://www.sjp.tht.in/wanlop.html

วาสนา สวนสีดา. (2548). การเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกันเทคนิค CIRC และวิธีสอนอ่านเพื่อการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

ศรัณย์ จันทร์ทะเล. (2548). การส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ความสามารถในการเขียนสรุปความและความภาคภูมิใจในตนเอง ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยการเรียนแบบ ซี ไอ อาร์ ซี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุพรรณี ไกยเดช. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การอ่านเพื่อความเข้าใจและการทำงานเป็นทีม เรื่อง Love Our Environment ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ CIRC กับแบบ SQ4R. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ กรมอาเซียน. (2555, ธันวาคม). กฎบัตรอาเซียน. (ออนไลน์). กรุงเทพฯ: กระทรวงต่างประเทศ. สืบค้นจาก https://www.mfa.go.th/asean/contents/files/asean-media-center-20121203-180519-958411.pdf

Graddol, D. (2006). English Next. London, UK: The British Council. from https://www.britishcouncil.org/learning-research-english-next.pdf

Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1987). Learning Together and Alone: Cooperative,Competitive and Individualistic Learning. (2nd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative Learning: Theory, Research and Practices. New Jersey: Prentice-Hall.