การพัฒนาหลักสูตรเสริมการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 The Development of an Enrichment Curriculum in Mathematics Problem Solving for Grade 7 Students

Main Article Content

กชพรรณ เขมเกื้อกูล KotchaphanKemkuakoon

Abstract

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1และ ศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริมการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 โรงเรียนแม่เมาะวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 กลุ่มทดลอง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 กลุ่มควบคุม คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 จำนวนกลุ่มละ 34 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตรเสริมการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t–test แบบ dependentและ t–test  แบบ independent)


              ผลการวิจัยพบว่า  1. หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ1) หลักการของหลักสูตร 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) คำอธิบายรายวิชา 4) โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร/เวลาที่ใช้ในหลักสูตร 5) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 6) สื่อ/ทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ และ การวัดและประเมินผล มีคุณภาพในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.33, SD.= 0.62)  2. กลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05  3. กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ก่อนการทดลองไม่แตกต่างกัน  4. กลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


               The purposes of this research were to develop and investigate the effect of using an enrichment  curriculum in  Mathematics Problem Solving for Grade 7 students. The samples of this research were the students in second semester by the year of 2018, Maemohwittaya  school. 1.The experimental group consisted of 34 students who studied in Matthayom1/3, and 2. The control group was 34 students who studied in Matthayom 1/4. The research instruments were an enrichment  curriculum in Mathematics Problem Solving and Mathematics problem solving ability test. The data analysis was done by percentage, mean (gif.latex?\bar{x}), standard deviation (S.D.) t-test (Dependent)and t-test (Independent)


              The research findings were  1.The Enrichment Curriculum in Mathematics Problem Solving for grade 7 students consisted of 7 factors by the following: 1) Principles 2)Aims 3)Course description 4)Course outline 5)Learning activity 6)Learning Materials and 7)Assessment. The quality was at the high level. (gif.latex?\bar{x} = 4.33, SD.= 0.62) 2. After the experiment, the experimental group had higher a mean score of Mathematics problem solving ability than before experiment with statistical significance at the level of .05 level.  3.The experimental group and control group had no difference in ability to solve math problems.  4.The experimental group had higher ability of mathematics problem solving than before studying through the enrichment curriculum at .05 level of significance.

Article Details

Section
Dissertations

References

จักรกฤษณ์ จันทะคุณ, อมรรัตน์ วัฒนาธร, วารีรัตน์ แก้วอุไร และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างจิตสำนึกในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(1), 1- 13.

เด่นศักดิ์ หอมนวล, วารีรัตน์ แก้วอุไร, ทะนงศักดิ์ ยาทะเล, และอังคณา อ่อนธานี. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับผู้สอนระดับอนุปริญญาในวิทยาลัยชุมชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(2). 13-24.

ดวงพร ตั้งอุดมเจริญชัย. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในการแก้โจทย์ ปัญหาโดยใช้ขั้นตอนของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

นิรัชรา ชัยชนะอุดมกุล. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการแก้ปัญหาของโพลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปริญญภาษ สีทอง. (2562). หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. เอกสารอัดสำเนา.

ภพเลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วรางคณา สำอางค์ พรชัยทองเจือ และผ่องลักษณ์ จิตต์การุณ. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดของโพลยา.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 11(1). 52 -61.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) . (2558). คู่มือการจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ : สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การ มหาชน).

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2559). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2556 จาก http://bet.obec.go.th/index

Ballew, H. and Cunningham, J. W. (1982). Diagnosing strengths and weaknesses of sixth-grade students in solving word problems. Journal for research in mathematics education. 13 (3): 202-210.

Bitter, Gary G. (1990). Mathematics Methods for the Elementary and Middle School : A comprehensive Approach. Boston: Allyn and Bacon. U.S.A.

Kenneth, Williams M. (2003). Writing about the Problem –Solving Process to Improve Problem –Solving Performance. Mathematics Teacher, 96(3), 185 – 187.

Polya, G. (1980). On solving mathematical problem in high school: Problem solving in schoolmathematics 1980 yearbook. Virginia, NCTM.

Saylor, J. Galen, Alexander, William M.& Lewis, Arthur J. (1981). Curriculum Planning for Better Teaching and Learning. 4thedition. NewYork: Holt, Rinehart and Winston.

Taba, H. (1962). Curriculum development; Theory and practice. New York: Harcourt, Brace and World.

Tyler, R.W. (1969). Basic principle of curriculum and instruction. University of Chicago Press.