การส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือนโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายของชุมชนย่านมัทรีจังหวัดนครสวรรค์ The Promotion of Household Accounting Practice using Participatory Research to Change Spending Behavior of Yanmatsi community, Nakhonsawan
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน และ4) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการวิเคราะห์รายรับ-รายจ่ายและการจัดทำบัญชีครัวเรือนของชุมชนย่านมัทรี จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ หัวหน้าครอบครัวหรือตัวแทนครัวเรือนของชาวชุมชนย่านมัทรี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 107 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 1 คน รวมจำนวน 107 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีครัวเรือน มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้จ่ายของชาวชุมชนย่านมัทรี จังหวัดนครสวรรค์ และ 3) กรอบประเด็นในการกำกับติดตามการวิเคราะห์รายรับ-รายจ่ายระดับครัวเรือนและการจัดทำบัญชีครัวเรือน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (multiple regression) และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1.ปัจจัยสนับสนุนการจัดทำบัญชีครัวเรือนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.83) โดยปัจจัยด้านการได้รับคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด(x=4.37) 2. สภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนอยู่ในระดับมาก (=3.90) โดยปัญหาด้านการขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีครัวเรือน และเห็นว่าการจัดทำบัญชีครัวเรือนเป็นเรื่องน่าเบื่อมีค่าเฉลี่ยปัญหาสูงที่สุด (=4.17) 3. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนของชาวชุมชนย่านมัทรี จังหวัดนครสวรรค์ในรูปคะแนนดิบ ได้แก่ ปัจจัยการสนับสนุนการจัดทำบัญชีครัวเรือน (X5) ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ = 0.298 + 0.298X5 5. ชาวชุมชนย่านมัทรี จังหวัดนครสวรรค์ มีความสามารถในการวิเคราะห์รายรับ-รายจ่ายและการจัดทำบัญชีครัวเรือนหลังได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดทำบัญชีครัวเรือนสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01
Article Details
References
ไชยา ทองต้อย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกรในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.
ฐิตาภรณ์ คงดี, พิษณุ บุญนิยม, สมชาย ศรีพูลและชาญวิทย์ วัชรพุกก์. (2561). ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมในการเลี้ยงสัตว์แบบบูรณาการตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(38), 47-58.
ประจักษ์ บุญอารี. (2551). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.วารสารบัวราชภัฏ, 14(มกราคม), 40-48.
ณัฐภัทร คำสิงห์วงษ์ และสุภาภรณ์ พวงชมพู. (2558). การวางแผนชำระหนี้ของเกษตรกรรายย่อยด้วยบัญชีครัวเรือนกรณีศึกษาลูกค้าเกษตรกรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15, 13-23.
พันธ์ทิพย์ รามสูตร. (2540). การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภัทรา เรื่องสินภิญญา. (2555). บัญชีครัวเรือน เรื่องใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 20-28.
เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2561). การพัฒนาหน่วยหารเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(37), 47-60.
ลักขณา สริวัฒน์. (2544). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สุภัทรษร ทรีจันทร์. (2556). การบูรณาการบัญชีครัวเรือนเพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านกลาง ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัยจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
อรทัย ดุษฎีดำเกิง. (2557).ทัศนคติในการจัดทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
อรุณี อย่างธารา, อรสา วีระประดิษฐ์, ณัฏฐพร เหล่าธรรมทัศน์และวิภาดา ตันติประภา.(2554). การบัญชีการเงิน. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อารยา จึงไพบูลย์กิจ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 1 (The 1st RUSNC 2016), 976-986.
Kemmis, S. and McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. Melbourne: Deakin University Press.
William M. Pride, Robert J. Hughes, Jack R. Kapoo. (2013). Business.(12th ed.). South western: Cengage Learning.
Tois, H.L., & Carroll, S.J. (1982). Dictionary of Management. New York: John Wiley and Sons.