การพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3; The Development of Information Program for Guidance Administration of Schools under the Office of Phitsanulok Primary Educational Service Area 3

Main Article Content

สิงห์เพชร สุทธิ และคณะ Singphet Sutthi and Other

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา ดังนี้  1) ออกแบบและสร้างโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 และ 2) ทดลองใช้โปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 โปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษา เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษา แบบประเมินผลการใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้รับผิดชอบงานแนะแนวของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 3 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า 


               1. โปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้านคือ 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน 2) ด้านคุณภาพการดำเนินงานแนะแนว 3) ด้านคุณภาพการบริหารจัดการแนะแนว โดยโปรแกรมสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพด้านความเหมาะสมในระดับมาก ( x= 4.52, S.D. = 0.52)   


               2. โปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 มีประสิทธิภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.63, S.D. = 0.48) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านปัจจัยนำเข้าโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารด้านการบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษา (x = 4.66, S.D. = 0.47) รองลงมาคือด้านผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม (x = 4.64, S.D. = 0.48) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการใช้งานและความสามารถของโปรแกรมอยู่ระดับมากที่สุด (x = 4.60, S.D. = 0.49) 


               This research aimed to develop the Information Program for Guidance Administration of Schools under the Office of Phitsanulok Primary Educational Service Area 3. Research methodology used was research and development as follows:    1) Designing and developing the Information Program for Guidance Administration of Schools under the Office of Phitsanulok Primary Educational Service Area 3. 2) Trying-out the developed Information Program for Guidance Administration of Schools under the Office of Phitsanulok Primary Educational Service Area 3 for quality assurance of guidance administration. The research instruments were a program suitability and feasibility assessment form, the Information Program for Guidance Administration of Schools, and a program application evaluation form. The research samples comprised school administrators and people responsible for guidance work of 3 schools under the Office of Phitsanulok Primary Educational Service Area 3. Data were analyzed by employing content analysis, mean and standard deviation. The research findings were as follows:   


               1. The Information Program for Guidance Administration of Schools under the Office of Phitsanulok Primary Educational Service Area 3 comprises three components, namely 1) quality of students, 2) quality of guidance procedure, 3) quality of guidance administration. It was found that the quality of the developed information program in the suitability aspect was at the highest level ( x= 3.76, S.D.=0.74).   


               2. The efficiency of the Information Program for Guidance Administration of Schools under the Office of Phitsanulok Primary Educational Service Area 3, overall, was at the highest level ( x=4.63, S.D.=0.48), top ranking by the aspect of using the program as an input factor for guidance administration (x = 4.66, S.D.=0.49), followed by results obtained from the program ( x= 4.64, S.D.=0.48) and bottom ranking by program application and ability aspect (x = 4.60, S.D.=0.49).

Article Details

Section
Dissertations

References

กัญญา วังศรี และพลพิทักษ์ พวงมาลา. (2544). การพัฒนาเว็บไซต์ของโรงพยาบาล ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เกริกไกร แก้วล้วน. (2552).ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อการบริหารการศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สารมนุษยศาสตร์. 5(2), 29-39.

ปกรณ์ ปรียากรณ์. (2542). การบริหารโครงการ: แนวคิดและแนวทางในการสร้างความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ลักขณา สริวัฒน์. (2543). การแนะแนวเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วิชัย วงศ์ใหญ่. (2543). การพัฒนาหลักสูตรและการสอนมิติใหม่. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศักดิ์สิน ปะวะกุล. (2553). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานแนะแนวโรงเรียนเลิงนกทา อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย. (2545). การออกแบบและบริหารฐานข้อมูล: Database Design and Administration. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

ศิวนาถ นันทพิชัย. (2552). การจัดการศึกษาของหลักสูตรการจัดการสารสนเทศ. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สริต วิจิตรโชติ. (2550). การจัดระบบสารสนเทศ เพื่อประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนุชา สุรถา. (2551). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้โปรแกรม SwishMax. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรม. (เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อนุชิตชาญชัย นาดี. (2555). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานแนะแนวโรงเรียนกวางโจนศึกษา อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. การค้นคว้าอิสระ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสาคาม.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2554). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อำไพ พรประเสริฐสกุล. (2543). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Kendall K. E. and Kendall J. E. (2005). Systems Analysis and Design. 6th ed. Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall.

Boone Edgar J. (1992). Developing programmer in aducation. New Jersey: Prentice Hall.

Valacich J. S., George J. F. and Hoffer J. A. (2001). Essentials of Systems Analysis And Design. Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall.