การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 The Development of Diphthong Word Writing Skill Practice Package for Grade Six Students

Main Article Content

กอบกาญจน์ วิเศษรัมย์ และคณะ Kobkan Wisesram and Others

Abstract

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำควบกล้ำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำควบกล้ำก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ โรงเรียนบ้านสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำควบกล้ำและแบบวัดความสามารถในการเขียนสะกดคำควบกล้ำ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวัดความสามารถในการเขียนสะกดคำควบกล้ำก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำควบกล้ำ เป็นเวลา 8 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน


                   ผลการวิจัย พบว่า  1. แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำควบกล้ำ ประกอบไปด้วย 8 เรื่อง คือ รู้จักพยัญชนะควบกล้ำ พยัญชนะต้นเป็นอย่างไร รู้จักคำควบแท้และควบไม่แท้ รู้จักคำและความหมายของคำ ต่อเติมคำที่เป็นพยัญชนะควบกล้ำ มาแต่งประโยคกัน การเขียนคำให้สอดคล้องกับภาพ และมาฝึกใช้คำควบกล้ำกัน โดยที่แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำควบกล้ำ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.79/93.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80  2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำควบกล้ำมีความสามารถในการเขียนสะกดคำควบกล้ำหลังเรียน (=88.82, SD=4.70) สูงกว่าก่อนเรียน(=77.18, SD=4.56) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                The purposes of the research were to develop a skill practice package for diphthong word writing for grade six students, and to compare the diphthong writing ability before and after learning through the package. The samples were 22 grade six students of Ban Sadieng school, Muang district, Phetchabun province. The instruments of the research were the diphthong word writing skill practice package and the diphthong word writing test. Data were collected before and after the experiment by using the diphthong word writing test. The sample students learned through the package for 8 hours. The statistics used for analyzing data were percentage, mean, standard deviation, and dependent t-test.


                The results were found that:  1. The diphthong word writing skill practice package consisted of 8 topics including Introduction to Diphthong Consonants, What Are Consonants, Finite and Non-finite Diphthong, Words and Meanings, Diphthong Word Adding, and Let’s Make Sentences. The diphthong word writing skill practice package valued by 85.79/93.83 which was higher than the pre-set criteria of 80/80, and 2. the diphthong writing ability of the students who learned through the diphthong word writing skill practice package after learning through the package (=88.82, SD=4.70)was higher than before (=77.18, SD=4.56) significantly by statistical level .05.

Article Details

Section
Research Articles

References

จอมพล อุ่นอ่อน และนพดล จันทร์เพ็ญ. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 9 (1), 1-7.

จุติตา คงด้วง. (2549). การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่องการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาการมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ธัญจิรา วิจิตรพัชราภรณ์. (2559). การพัฒนาแบบฝึกทักษะเรื่องมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการสอนภาษาไทย). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

ถวัลย์ มาศจรัส และคณะ. (2550). นวัตกรรมการศึกษาชุดแบบฝึกหัด-แบบฝึกเสริมทักษะ. กรุงเทพฯ: เซ็นจูรี่.

มานิตยา ทรงธรรมสกุล. (2553). การสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบางวัว (สายเสริมวิทย์). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.

รอน น้อมถวาย. (2559). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนคำศัพท์พื้นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสามเสน (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์). การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาไทย). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.

ศึกษาธิการจังหวัด, สำนักงาน. (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561. เพชรบูรณ์: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด.

สุรีวรรณ ชัยเพชร, วัฒนา รัตนพรหม และประสิทธิ์ ทองแจ่ม. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี.2 (2), 77-86.

วัลยา อ่ำหนองโพธิ์ และอุบลวรรณ ส่งเสริม. (2559). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำเรื่องมาตราตัวสะกดโดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 8 (1): 283-298.

วิภาวรรณ แผ้วประสงค์ และบัญญัติ ชำนาญกิจ. (2557). การพัฒนาแบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 4 (10): 39-52.

สมพงษ์ ศรีพยาต. (2533). การพัฒนาชุดแบบฝึกการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการสอนภาษาไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

เสมอปัญญา หนูป่า. (2559). แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13 (1): 55-56.

สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). ผลงานทางวิชาการส่งการเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: อีเค บุคส์.