การพัฒนากลยุทธ์การตลาดของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในกลุ่มภาคเหนือ Development of Marketing Strategy of TOT Public Company Limited in the Northern Region

Main Article Content

รัชดาพร รอดหิรัญ และคณะ Rutchadaporn Rodhirun and Others

Abstract

                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  2) เพื่อศึกษาความต้องการ  3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์ และ  4) เพื่อประเมินกลยุทธ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ พนักงานบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) จำนวน 315 คน ผู้ใช้บริการ 400 คน และผู้เชี่ยวชาญการตลาดและกลยุทธ์ 38 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ   วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า  1.สภาพปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า มีการดำเนินการทุกรายการปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในภาพรวม พบว่า ขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณ เทคโนโลยี บุคคล และขาดการวางแผนต่อเนื่องในการสื่อสารตลาดแบบครบวงจร (IMC) 2.ความต้องการของผู้ใช้บริการ พบว่า ต้องการพนักงานที่มีมนุษย์สัมพันธ์ มีมารยาท มีบริการหลังการขายที่มีประสิทธิภาพ และมีความถูกต้องในการให้บริการ  3. กลยุทธ์การตลาดที่พัฒนาได้แก่ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการได้มาตรฐานสากล 2) เพิ่มส่วนแบ่งการตลาด 3) สร้างพันธมิตรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเพิ่มประสิทธิภาพบริการโซลูชั่น 4) เพิ่มขีดความสามารถบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต สนองความต้องการกลุ่มเป้าหมายใหม่ 5) เสริมสร้างการรับรู้ในคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านการสื่อสารทั้งออนไลน์และออฟไลน์ 6) ปรับเปลี่ยนงานลูกค้าสัมพันธ์ด้วยการตลาดดิจิทัล 7) พัฒนาระบบการรับแจ้ง/แก้ไขเหตุเสียให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย 8) เสริมสร้างการตอบแทนสู่สังคมให้กับประชาชน และผู้ใช้บริการ 9) พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐ เอกชนเพื่อรองรับการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัล และ IoT ด้วยระบบสื่อสารที่มีคุณภาพครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ และ 10) เพิ่มขีดความสามารถการให้บริการประชาชนด้านเทคนิคการสื่อสาร  4. ผลการประเมินกลยุทธ์ พบว่า กลยุทธ์มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการยอมรับได้ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด


                  The purpose of this research were to 1) study  states,  problems and the factors related to  marketing of  TOT  Company  Limited in the  Northern  Region, 2) study customers’ needs for the services, 3) develop marketing strategies of TOT Company Limited  in the Northern Region and     4) to assess the strategies. The informants consisted of administrators and officers of TOT Company  Limited in the Northern Region, customers, experts in marketing and strategy development. Data were collected through the use of questionnaire, structured interview, workshop, connoisseurship and assessment form. The data were analyzed through the applications of mean, standard deviation, and content analysis. The research findings were as follows:


                The state of marketing revealed that a marketing plan was set by using customer information according to the types of customers. As for the problems, it was found that there was a lack of support for budget, technology and adequate persons. The factors related to marketing was found that there was a lack of continuous planning in Integrated Marketing Communication (IMC). The customers’ needs  for  the  services were  that the  customers  wanted  friendly  and  polite  officers. After-sales service should be efficient and accurate. The developed strategies consisted of   1 vision, 3 mission, 3 Values, 3 goals, 3 strategic issues, 10 strategies, 35 measures and 54 indicators. The strategy evaluation was found that the strategies were consistent, appropriate, feasible and acceptable at a high to the highest level.

Article Details

Section
Dissertations

References

จิราวรรณ ทรัพย์นิเวศน์. (2552). การบริหารจัดการงบประมาณของศาลยุติธรรม : ศึกษาเฉพาะกรณีศาลจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, อยุธยา.

ชนิกา พิพัฒนานิมิตร. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 7. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ยุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.

ชัยสิทธิ์ เจริญวงศ์วิวัฒน์. (2560). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดดิจิทัล กรณีศึกษา บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

ณัฐภูมิ บัวแก้ว. (2558). กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงของผู้ใช้งานตามบ้านในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นพรัตน์ ภูมิวุฒิสาร. (2556). การจัดการการตลาด. กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัฒนาระบบราชการ, สำนักงานคณะกรรมการ. (2556) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.

ภาคขายและบริการภูมิภาคที่ 3 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), สำนักงาน. (2559). รายงานผลการดำเนินงานประจำเดือนธันวาคม 2558. เชียงใหม่: สำนักงานภาคขายและบริการภูมิภาคที่ 3 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน).

ระพีพร ศรีจำปา. (2558). นวัตกรรมกลยุทธ์การตลาดเพื่อความยั่งยืน: กลยุทธ์การตลาด 4S. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เร่งรัด สุทธิสน. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินธุรกิจขนาดย่อมของผู้ประกอบการในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10(28), 47-64.

ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2554). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรชาติ ชัยชาญวุฒิกุล. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค กลยุทธ์การตลาดและการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม กรณีศึกษาบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วรรณชา กาญจนมุสิก. (2554). การทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ ธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

วิลาสินี อินทร์สุวรรณ. (2561). การบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์บนสื่อสังคมออนไลน์ ของ บริษัท แอลจี อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย). วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

ศิริเพ็ญ มาบุตร.(2551). ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ทรูวิชั่นส์ ลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพฯ.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สุณิสา กัณทะพงศ์ เกียรติชัย กาฬสินธุ์ และพันธ์ณภัทร์ เศวตภาณุวงศ์ (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการควบรวมเป็นพันธมิตรกันระหว่างชุมชนและบริษัท จากกรณีศึกษาของบริษัทเนสท์เล่ จำกัด บริษัทยูนิ ลีเวอร์ จำกัด และบริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

สุพรรณี อินทร์แก้ว. (2550). การตลาดธุรกิจบริการเฉพาะอย่าง. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส.

อรจันทร์ ศิริโชติ. (2556). การตลาดบริการ. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

อรวรรณ์ กิตติศัพท์กุล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) : กรณีศึกษา ผู้ให้บริการโทรคมนาคมภาครัฐ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Armstrong, G. (2014). Marketing Management (15th ed.). Pearson Education, New Jersey, U.S.A.

Kotler, P. (2003). Marketing Management. New Jersey : Prentice Hall.Kotler, P., &.

Goldring, D. (2011). The impact of reputation orientation on marketing strategy formation and performance Global Sustain ability. (13th ed.). New Jersey: Pearson Internet.

Lamberton, C., & Stephen, A. T. (2016). A Thematic Exploration of Digital, Social Media, and Mobile Marketing: Research Evolution from 2000 to 2015 and an Agenda for Future Inquiry. Journal of Marketing: AMA/MSI Special Issue, 80 (November), 146-172.

Sasa, R. (2010). Marketing strategy in a light of further development tourism of Vojvodina. Croatia: Opatija.

Zeithaml, V. A., Parasuraman, & L. L., Berry. (1990). Delivering Quality Service: Balancing Customer Perceptions. New York : The Free Press.