ผลการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะการสังเกตและทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลของเด็กปฐมวัย The Effects of Science Activities Integrated Experience Towards Observing and Opinion Skills of Early Childhood Students

Main Article Content

สุปรียา คำตา และคณะ Supriya Khumtha and Others

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบจำนวนของเด็กปฐมวัยที่มีคะแนนทักษะด้านการสังเกตและทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนรวม กับจำนวนร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกต และทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี โรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยรวมทั้งสิ้น 2 ฉบับ คือ แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด และแบบวัดทักษะการสังเกตและการลงความเห็นจากข้อมูลของเด็กปฐมวัยมีลักษณะเป็นการให้คะแนนแบบกำหนดระดับคุณภาพ (Rubric Score) ที่มีดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น ของค่า RAI เท่ากับ 0.93


                 ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กปฐมวัยจำนวนร้อยละ 96.55 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีทักษะการสังเกตและการลงความเห็นจากข้อมูลผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1  2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์มีทักษะการสังเกตและการลงความเห็นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2  


                 The purposes of this research were 1) to compare the amount of early childhood students toward the integration on organizing science experience by observing and opinion of early childhood students to reach the average on 75 percentage of integer and 80 percentage of all students and 2) to compare the data on skills of observing and opinion’s early childhood students before and after learned on organizing science experience.The samples were 29 students of kindergarten 3 at the age of 5-6 years old in Tassabal Wat Sai Nuea School by using Cluster Random Sampling. The instruments used to collect data were the lesson plan for integration organizing science experience and a test of observing and questionnaire for asking students’ opinion. The data was statistically analyzed by scoring Rubric identified the reliability between 0.67 – 1.00 and the Rater Agreement Index (RAI) at 0.93.


                The findings were as follows: 1. The early childhood students were higher than the average 75 percentage on organizing science experience by observing and opinion at 96.55 which accepted the first hypothesis and 2. After students experienced in integration on organizing science experience by observing and opinion of early childhood students were higher at significant level 0.05. Thus, the second hypothesis was supported.

Article Details

Section
Dissertations

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบส บุ๊คส์.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2545). ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยศึกษา. วารสารการศึกษา ปฐมวัย, 6(4), 24-25.

ปิยนุช แข็งกสิการ, วไลพร เมฆไตรรัตน์ และบัณฑิตา อินสมบัติ. (2561). ผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการสังเกตและทักษะจำแนกประเภทของเด็กปฐมวัย, วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1), 125-135.

พัชรา พุ่มพชาติ. (2561). ผลการใช้ชุดฝึกอบรมผู้ปกครองเรื่องการสร้างวินัยเชิงบวกผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่มีต่อวินัยในตนเองและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ฏสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(38), 15-30.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2550). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป.

_______. (2551). การสอนคิดด้วยโครงงาน: การเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แม็ค.

วรนาท รักสกุลไทย. (2551). ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์สําหรับเด็กปฐมวัย. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 6. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศศิธร รณะบุตร. (2551). ผลของการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ศศิพรรณ สำแดงเดช. (2553). ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2549). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคนอื่น ๆ. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.

หรรษา นิลวิเชียร. (2550). ปฐมวัยศึกษาหลักสูตรและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โอเอสพริ้นติ้งเฮาส์.

เอราวรรณ ศรีจักร.(2550) .การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, กรุงเทพฯ.

Fox, Jill E. (2010). The Role of Drawing in Kindergarteners’ Science Observations. International Art in Early Childhood Research Journal, 2(1), 56-72.

Hamlin, Maria; & Wisnaski, Debora B. (2012). Supporting the Scientific Thinking and Inquiry of Toddlers and Preschoolers through play. Yong Childre, 67(3), 82-88.