การพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่อำเภอบางกระทุ่ม สังกัดสำนักงานประถมศึกษาเขต 2 จังหวัดพิษณุโลก Life Skill Development for the Students at Educational Opportunity Expansion Schools in Bangkrathum District under the Office of Phitsanulok Primary Educational Service Area Two

Main Article Content

ณิรดา เวชญาลักษณ์ Nirada Wechayaluck
กาญจนา สุขพิทักษ์ Karnchana Sukphithak

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของเด็กนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสเขตพื้นที่อำเภอบางกระทุ่ม  2) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสเขตพื้นที่อำเภอบางกระทุ่ม  3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะชีวิตเด็กนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่อำเภอบางกระทุ่ม  4) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาทักษะชีวิตเด็กนักเรียน ในโรงเรียนขยายโอกาสเขตพื้นที่อำเภอบางกระทุ่ม สังกัดสำนักงานประถมศึกษาเขต 2 จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาสภาพปัญหาของเด็กนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส ได้แก่ ผู้อำนวยการ ครู และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่อำเภอบางกระทุ่ม สังกัดสำนักงานประถมศึกษาเขต 2 จังหวัดพิษณุโลก โดยการสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาวิเคราะห์เพื่อสร้างชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต และนำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในด้านจิตวิทยา และการพัฒนาพฤติกรรมเด็ก จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยการสนทนากลุ่มเพื่อสร้างชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต


                ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัญหาของนักเรียนส่วนใหญ่ ควรได้รับการพัฒนาทั้งด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย

  2. ผลการสร้างชุดกิจกรรม ประกอบด้วย ด้านพุทธพิสัย จำนวน 6 กิจกรรม ด้านจิตพิสัย จำนวน 8 กิจกรรม และด้านทักษะพิสัย จำนวน 6 กิจกรรม

  3. ผลการพัฒนาทักษะชีวิตเด็กนักเรียน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 80

  4. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาทักษะชีวิตภาพรวมอยู่ในระดับมาก  

    The purposes of this study were as follows; 1) to study the students’ problem conditions at educational opportunity expansion schools in Bangkrathum District under the Office of Phitsanulok Primary Educational Service Area Two, 2) to construct life skill development activities for the students at these schools, 3) to study the results of life skill development for these students, and 4) to evaluate the students’ satisfaction towards the activities of life skill development at these schools. The samples for studying the problem conditions of the students at these schools were the directors, teachers, and students’ parents at the educational opportunity expansion schools in Bangkrathum District under the Office of Phitsanulok Primary Educational Service Area Two. The focus group discussion was applied with the 15 samples who were selected by a purposive sampling. The information collected from the first step was analyzed in order to construct the activities for life skill development and they were proposed to five experts having experiences on psychology and children’s behavior development and these five experts were selected by a purposive sampling and the focus group discussion was applied to construct the activities for the life skill development.


                    The results were found as follows


    1. The most of the students’ problem conditions should be developed on cognitive, affective, and psychomotor domain.

    2. The results of constructing the life skill development activities were found that they consisted of six activities on cognitive domain, eight activities on affective domain, and six activities on psychomotor domain.

    3. The results on life skill development for the students were found that the most of the most of the students paid attention and cooperated in doing the activities 80%.

    4. In general, the level of the students’ satisfaction towards the activities of life skill development was found at a high level.


Article Details

Section
Research Articles

References

ณัฏติยาภรณ์ หยกอุบล. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาและการพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์, 8(1): 85-102.

ดวงเดือน เทพนวล. (2556). การพัฒนาพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่โดยใช้วิธีการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 14(2): 5-16.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ยุทธกรณ์ ก่อศิลป์, และคณะ. (2556). การพัฒนาความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญารายวิชา ส 32103 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1): 132-139.

รุ่งทิวา โพธิ์ใต้. (2552). ผลของการใช้กิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านความตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(2): 57-65.

รัตนา ขุนพรหม. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนศรีอุทุมพร. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 7(12): 91-102.

สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุเมธ เนาว์รุ่งโรจน์. (2560). ที่ได้ศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 โดยใช้การสอนแบบ 4MAT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 7(1): 139-145.

สุวิชชา เนียมสอน. (2558). เทคโนโลยีกับการศึกษาปฐมวัย กระแสนิยมหรือสิ่งจำเป็น. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 11 (2): 180-192.

สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสารสนเทศ กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). สถิติทางการศึกษา 2560. สืบค้น จาก https://www.bopp-obec.info/home/?page_id=26188.

อภิญญา ตันทวีวงศ์. (2557). เด็กด้อยโอกาสจุดพลิกผันอนาคตของชาติ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. ระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม 2557,กรุงเทพฯ, สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).

Bloom, B.S. (1961). Taxonomy of education objectives. .New York: David Mckay Company.

Polly, D. (2010). Preparing teachers to integrate technology effectively: The case of higher-order thinking skills (HOTS). Chapter to appear in S.D’ Augustono (Ed.).

WHO. (1944). Life skills education for children and adolescences in school. London: Education Department of Health.