การสังเคราะห์กระบวนการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน The Synthesis of Teachers’ Functional Competency Development in the Aspects of Analysis, Synthesis, and Research for Learner Development in Educational Opportunity Expansion Schools of Office of the Basic Education Commission

Main Article Content

เฉลิมพร วังศรีคูณ และคณะ Chalermporn Wangsrikoon and Others

Abstract

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เพื่อสังเคราะห์กระบวนการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของกระบวนการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาครูและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการจัดการเรียนรู้จำนวน 10 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กระบวนการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน และแบบประเมินความเหมาะสมของกระบวนการพัฒนาเก็บรวบรวมข้อมูลโดย วิธีการสนทนากลุ่ม  (Focus Group) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของกระบวนการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูด้านการวิเคราะห์  สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย หลักการ  วัตถุประสงค์    กระบวนการพัฒนา  การวัดและประเมินผล โดยกระบวนการพัฒนา แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 โครงการอบรมภาคทฤษฎี  ส่วนที่ 2 โครงการเชิงปฏิบัติการในภาระประจำสายงานครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และ 2) ผลการประเมินความเหมาะสมของกระบวนการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า กระบวนการพัฒนามีความเหมาะสมมากที่สุด (x= 4.75, S.D.=0.54) รองลงมาคือ หลักการมีความเหมาะสมมากที่สุด (x=4.71, S.D.=0.50) วัตถุประสงค์มีความเหมาะสมมาก (x=4.36, S.D.=0.91) การวัดและการประเมินมีความเหมาะสมมาก (x=4.36, S.D.= 0.91) สรุปผลการประเมินความเหมาะสมของกระบวนการพัฒนามีความเหมาะสมมีประโยชน์ นำไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้  


                 The purposed of research were 1) to the synthesis of teachers’functional competency development   and 2) to evaluate the synthesis of teachers’ functional competency development in the aspects of analysis, synthesis, and research for learner  development in educational opportunity expansion schools of office of the basic education commission. The purposive sample were 10 experts who specialized in the teachers’ functional competency development and research for learner development in educational. The tools of research were the synthesis of teachers’ functional competency development in the aspects of analysis, synthesis, and research for learner development and evaluation functional. The collected data was focus group discussions approach by experts then analysis data were mean and division.


                The research result found that: 1)The teachers’ functional competency development were divided  that elementary, aims to functional,  progress & present  and  the evaluation of  process  and developmental process  implementation. The implementation is divided into 2 parts 1) theoretical project. Consists of knowledge with the average between 2) practical project for teachers’ functional competency.  And 2) the evaluation of process was found that progress & present are the most suitable (x=4.75, S.D.=0.54). The next, the Elementary suitable (x=4.71, S.D.= 0.50). aims to functional, suitable (x= 4.36, S.D.=0.91). and the evaluation of  process suitable (x= 4.36, S.D.= 0.91). The research were concluded that the assessment of the suitability by experts. The developed was appropriate and useful to help the Teachers’ functional competency development in the aspects of analysis, synthesis, and research for learner development.

Article Details

Section
Dissertations

References

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1, สำนักงาน. (2556). รายงานนโยบายการพัฒนาครูแนวใหม่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 1, 2556. สุโขทัย: ผู้แต่ง.

คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ. (2553). แผนนำทางวิจัยการศึกษา,2553-2562 Roadmap for Educational Research, 2010-2019. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ณิรดา เวชญาลักษณ์ และกาญจนา สุขพิทักษ์. (2561). การพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสเขตพื้นที่อำเภอบางกระทุ่ม สังกัดสำนักงานประถมศึกษาเขต 2 จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 8(15),35-50.

ทิศนา แขมมณี และสร้อยสน สกลรักษ์. (2540). แบบแผนและเครื่องมือวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มาเรียม นิลพันธ์. (2559). รูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของ นักเรียนระดับประถมศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัฐพล พรหมสะอาด, สุรชัย มีชาญ และอรอุมา เจริญสุข. (2561). การนำเสนอแนวทางการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(38), 119-134.

วสันต์ ปานทอง. (2556). รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อศิษย์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (บริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด.

สมพิศ สุขแสน. (2543). นโยบายสาธารณะและการวางแผน. อุตรดิตถ์: สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์.

อพันตรี พูลพุทธา. (2561). รูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(37), 61-74.

อัญชลี สุขในสิทธิ์. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bulkley, K. E., & Hicks, J. (2005). Managing community: Professional community incharter schools operated by educational managementorganizations. Educational Administration Quarterly, 41(2), 306-348.

Hord, S. M., Roussin, J. L., & Sommers, W. A. (2009). Guiding professional learning communities: Inspiration, challenge, surprise, and meaning. Corwin Press: Jossey-Bass.

Joyce, B. & weil, M. (2000). Model of Teaching. (6th ed.). Mew Jersy: Prentice Hall.

McClelland David.C. (1973). Testing for Competency rather than for Intelligence. American Phychologist, 28(3),1-24.

Stufflebeam, D.and Shinkfield, A., (2007). Evaluation theory, models, & applications. San Francisco: Jossey-Bass.