การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการลุ่มน้ำคำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย The Community Participation in Kham Watershed Management, Mae Chan District, Chiang Rai Province
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการลุ่มน้ำคำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และประการที่สอง เพื่อศึกษาแนวทาง กลไกการทรัพยากรน้ำเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืนการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำคำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย วิธีการศึกษาใช้แบบสอบถาม จำนวนตัวอย่าง 400 ครัวเรือน และการสนทนากลุ่มคณะกรรมการเหมืองฝายจำนวน 20 คน และจัดประชาคมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 50 คน ในช่วงเดือนตุลาคม 2560 - กรกฎาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทำ SWOT Analysis Matrix
ผลการศึกษา พบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาและหาสาเหตุของปัญหา การมีส่วนร่วมในการวางแผน หาแนวทางการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลอยู่ในระดับมาก ส่วนแนวทาง กลไกการทรัพยากรน้ำเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืนการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำคำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย นั้นคือ การจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายผู้ใช้น้ำร่วมกันของเหมืองฝายต่าง ๆ ในลักษณะของคณะกรรมการบริหารจัดการลุ่มน้ำคำ ข้อเสนอแนะต่อการเพิ่มระดับการมีส่วนร่วม คือ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ การจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำและกระบวนการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม ควรคำนึงถึงบทบาทของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
The purpose was to study the community participation in Kham Watershed Management, Mae Chan District, Chiang Rai Province. The study was conducted by questionnaire. Samples of 400 households during October 2016 - July 2018 were analyzed by descriptive statistics using percentage, mean, standard deviation. The results found that the community participation was participatory in problem determination and problem identification. Participation in planning finds a way to operate, participation in practice, participation in receiving benefits, and participation in monitoring and evaluation. All aspects are very good. The suggestion for community involvement should promote to participate in watershed rehabilitation, water use groups and an approached participatory process should consider the roles of stakeholders.
Article Details
References
กรมทรัพยากรน้ำ. (2552). การเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กิติชัย รัตนะ. (2553). การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำ: กรณีศึกษาลุ่มน้ำแม่น้ำเมืองตราด. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
______. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการลุ่มน้ำห้วยแม่ท้อ จังหวัดตาก. การประชุมวิชาการครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, 7 ธันวาคม 2555, กำแพงแสน นครปฐม.
______. (2555). การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่เหมาะสมในการจัดการลุ่มน้ำกอน จังหวัดน่าน.การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 50 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 31 มกราคม 2555, กรุงเทพฯ.
เกษม จันทร์แก้ว. (2551). หลักการจัดการลุ่มน้ำ=Principle of Watershed Management. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
______. (2553). วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชนะบูรณ์ อินทรพันธุ์. (2552). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการลุ่มน้ำ: ศึกษากรณีการจัดการลุ่มน้ำห้วยทับทัน จังหวัดศรีษะเกษ. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 16(1): 77-100.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยและการแปลความหมาย. ข่าวสารวิจัยทางการศึกษา. 18(3): 8-11.
มนัส สุวรรณ. (2549). การจัดการสิ่งแวดล้อม: หลักการและแนวคิด. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ยศ สันตสมบัติ. (2544). ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. (2555). สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 มติ 4 การบริหารจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคีทุกภาคส่วน. เอกสารอัดสำเนา.
ส่วนประสานและบริหารจัดการลุ่มน้ำโขงส่วนที่ 1 และกก. (2558). การจัดทำรายงานสถานภาพและศักยภาพของลุ่มสาขาน้ำแม่พุงและน้ำแม่จัน (น้ำแม่คำ). เอกสารอัดสำเนา.
สุวัฒน์ อินทรประไพ.(2557, ตุลาคม). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำป่าสัก. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 15(2): 68-81.
สหัทยา วิเศษ, และนิคม บุญเสริม. (2547). การจัดการลุ่มน้ำโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์. (2548). การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม: การเรียนรู้ร่วมกับชุมชน. กรุงเทพฯ: เครือข่ายงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏ.
Cronbach, Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. (3rd ed). New York: Harper.
Cohen, J.M. and Uphoff, N.T. (1980). Participation’s place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development, 8(3): pp. 213-235.
Ferreyra, C., Loe, R.C.D. & Kreutzwise, R.D.R. (2008). Imagined Communities, Contested Watersheds: Challenges to Integrated Water Resource Management in Agricultural Areas. Journal of Rural Studies. (24): 304-321.
Pertins, P. E. (2011). Public Participation in Watershed Management: International Practices for Inclusiveness. Physics and Chemistry of the Earth, (36): pp. 204-212.
Schenk, Colin, et, al.(2009).A System Model for Water Management. Environmental Management, (43): pp. 458-469.