การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนระหว่างการปลูกข้าว แบบเกษตรอินทรีย์และการปลูกข้าวแบบเกษตรเคมี : กรณีศึกษาชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านดอกบัว จังหวัดพะเยา; Comparison of Cost and Benefit between Organic Rice Farming and Chemical Rice Farming : A Case Study in

Main Article Content

วิรุณสิริ ใจมา และคณะ Wirunsiri Jaima and Others

Abstract

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนระหว่างการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์กับการปลูกข้าวแบบเกษตรเคมีในชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านดอกบัว จังหวัดพะเยา  ประชากรคือชาวนาที่ปลูกข้าวในชุมชน 130 ราย (เกษตรกรที่ปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ 89 ราย และแบบเกษตรเคมี 41 ราย)  โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 122 ราย (เกษตรกรที่ปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ 84 ราย และแบบเกษตรเคมี 38 ราย)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าความถี่ และสถิติ t-test


                ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนทั้งหมดของการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ต่ำกว่าต้นทุนทั้งหมดของการปลูกข้าวแบบเกษตรเคมีอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  รายได้ทั้งหมดจากการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์สูงกว่ารายได้ทั้งหมดจากการปลูกข้าวแบบเกษตรเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  รายได้สุทธิเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสดและกำไรสุทธิจากการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์สูงกว่ารายได้สุทธิเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสดและกำไรสุทธิจากการปลูกข้าวแบบเกษตรเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  และผลตอบแทนที่จับต้องไม่ได้ (ความสุข) ของเกษตรกรที่ปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์สูงกว่าเกษตรกรที่ปลูกข้าวแบบเกษตรเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ   


                   This research aimed to study and compare cost and benefit between organic rice farming and chemical rice farming in the sufficiency economy community of Ban Dok-bua, Phayao Province. The population were 130 farmers (organic rice farming 89 farmers and chemical rice farming 41 farmers). The sample were 122 farmers (organic rice farming 84 farmers and chemical rice farming 38 farmers). The research instruments used were a questionnaire and a focus group. The statistics of mean (x), standard deviation (S.D.), percentage, frequency and t-test were used for analyzing the data.


                The finding revealed that the total cost of the organic rice farming was not lower statistically significant than the chemical rice farming. The total revenue of the organic rice farming was higher statistically significant than the chemical rice farming. The net revenue over cash cost and net profit of organic rice farming was higher statistically significant than the chemical rice farming. The intangible benefit (happiness) of the organic rice farmer was higher statistically significant than the chemical rice farmer.

Article Details

Section
Research Articles

References

ธนิตา อาจชารี. (2555). การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนระหว่างการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์กับข้าวหอมมะลิแบบใช้สารเคมี ตำบลนาเวียง อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ ปีการเพาะปลูก 2554/55. การศึกษาอิสระปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นราทิพย์ ชุติวงศ์. (2560). หลักเศรษฐศาสตร์ I: จุลเศรษฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบด, โรบิน. และ ปาร์กิ้น, ไมเคิล. (2553). เศรษฐศาสตร์จุลภาค: ฉบับมาตรฐาน. แปลโดย จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ.

ภราดร ปรีดาศักดิ์ (2556). หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราตรี ล้วนจิรพันธ์. (2553). การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนระหว่างการปลูกข้าวอินทรีย์และการปลูกข้าวใช้สารเคมี ในอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี. การศึกษาอิสระปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เริงชัย ตันสุชาติ และธรรญชนก คำแก้ว. (2551). ดัชนีวัดความสุขและความอยู่ดีมีสุขของสมาชิกชุมชนในมูลนิธิโครงการหลวง. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วรวุฒิ ทาอุโมงค์. (2554). การวัดความสุขเชิงเศรษฐศาสตร์แนวใหม่ของกลุ่มผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิรุณสิริ ใจมา. (2559). เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์, อรณิชา สว่างฟ้า, กนกพร นิตย์นิธิพฤทธิ์, และณัฏฐาภรณ์ เลียมจรัสกุล. (2553). พัฒนาการแนวคิดเรื่องความสุขที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สุขและเศรษฐกิจพอเพียง. เครือข่ายงานวิจัยนานาชาติเพื่อสังคมอยู่เย็นเป็นสุข (ไอราห์). สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2556, จาก https://www.happysociety.org/papers.php.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2556). ต้นทุนการผลิต. ส่วนสารสนเทศปัจจัยการผลิตและราคา ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2556, จาก https://www.brrd.in.th/main/document/conference2/04062554/5.pdf.

อรกช เก็จพิรุฬห์. (2556). การเปรียบเทียบโครงสร้างต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการปลูกข้าวแบบเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์ : กรณีศึกษา ตำบลหนองโสน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร. แก่นเกษตร. 2556 (41), 171-180.

อัจฉราภา จัดแจง. (2556). การประยุกต์ต้นทุนฐานกิจกรรมเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวแบบใช้สารเคมีกับแบบเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

International Federation of Organic Agriculture Movements (IFORM). (2008). Definition of Organic Agriculture.
Retrieved July 15, 2012, from https://www.ifoam.bio/sites/default/files/ page/ files/doa_ french.pdf.

United Nations. (2016). Global Sustainable Development Report 2016, Department of Economic and Social Affairs, New York, July. Retrieved December 9, 2017, from https:// sustainabledevelopment.un.org/content/documents/10792Chapter4_GSDR2016.pdf.