การพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3; The Development of Information Program for Supplies Administration of Schools under the Office of Phitsanulok Primary Educational Service Ar
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา ดังนี้ 1) ออกแบบและสร้างโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา และ 2) ทดลองใช้โปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานพัสดุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของโปรแกรม แบบประเมินประสิทธิภาพการใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้รับผิดชอบงานพัสดุของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 6 คนจากโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โรงเรียนละ 2 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. โปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ด้านคือ 1) ด้านการวางแผนและกำหนดความต้องการพัสดุ 2) ด้านการจัดหาพัสดุ 3) ด้านการควบคุมพัสดุ 4) ด้านการเบิกจ่ายพัสดุ 5) ด้านการบำรุงรักษาพัสดุ และ 6) ด้านการจำหน่ายพัสดุ โดยโปรแกรมสารสนเทศ มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมากที่สุด (= 4.50, S.D.=0.22)
2. โปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา มีประสิทธิภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.63, S.D. = 0.48) โดยด้านที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ ด้านการวางแผนและกำหนดความต้องการพัสดุ อยู่ระดับมากที่สุด (=4.66, S.D. = 0.41) รองลงมาคือ ด้านการบำรุงรักษาพัสดุ (=4.50, S.D. = 0.34) ด้านการจัดหาพัสดุ (=4.24, S.D. = 0.33) ด้านการจำหน่ายพัสดุ (=4.22, S.D. = 0.48) ตามลำดับ และด้านที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดคือ ด้านการควบคุมพัสดุและด้านการเบิกจ่ายพัสดุ (= 4.13, S.D. = 0.64)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
_______. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และ พระราชบัญญัติการศึกษา ภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
_______. (2550). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทองจำกัด.
จิราภา วิชาชาญ. (2550). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ เขตภูมิภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
จีราภรณ์ รักษาแก้ว. (2553). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย. (2545). การออกแบบและบริหารฐานข้อมูล (Database Design and Administration). กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุมาลี อริยะสม. (2552). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอในจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวัดและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, นนทบุรี.
อำไพพร ประเสริฐสกุล. (2543). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Bar, M.,J., and Keating, L.,A. (1990). Introduction: Elements of program development. In M.J.Barr, L.A.Keating and Associates. Developing effective student services program. San Francisco: Jossey-Bass.
Boone, Edgar, J. (1992). Developing programmer in education. New Jersey: Prentice Hall.
Christopher, Janet Cale. (2003). Extent of Decision Support Information Technology Use by Principals in Virginia Public Schools and Factors Affecting Use. Dissertation. Abstracts International. 64(5): 1661-A; November. Endeavors?,” Masters Abstracts International. 41(02): 335-A; April.
Knowles, Malcolm S. (1980). The Modem Practice of Adult Education from Pedagogy to Andragogy. New York: The Adult Education Company.