การพัฒนาสมรรถนะการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษาของครูผู้สอนโดยใช้เทคนิคการเสริมพลังอำนาจ; A Development Competency of Instrument Construction and Evaluation for Education Measurement of Teacher in Lampang Province with Empowerment Approach

Main Article Content

เบญจมาศ พุทธิมา Benjamas Phutthima

Abstract

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษาของครูผู้สอนโดยใช้เทคนิคการเสริมพลังอำนาจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 เขต 2 และเขต 3 เขตพื้นที่ละ 10 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจงจากครูผู้สอนที่สนใจและเต็มใจเข้าร่วมโครงการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินสมรรถนะการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษา (ด้านความรู้ ด้านคุณลักษณะ ด้านทักษะ) และแบบบันทึกการเรียนรู้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 


              ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษาของครูผู้สอนในจังหวัดลำปาง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับสูง 2) ด้านเจตคติ ครูผู้สอนมีเจตคติต่อการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษาอยู่ในระดับดี และ 3) ด้านทักษะ ครูผู้สอนสามารถสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษาอยู่ในระดับสูง 


               The purpose of this research was to develop teachers’ competency of Instrument Construction and Evaluation for Education Measurement with Empowerment Approach. Population sample were 30 teachers in the Lampang Primary Education Service Area 1, 2 and 3 (10 people per area) who were interested in and willing to participate in research project by purposive sampling. The research instruments were a competency assessment form for instrument construction and evaluation for education measurement (knowledge, attribute, performance) and the teacher outcome record form. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and qualitative content analysis. 


              The results were as follow: The competency of instrument construction and evaluation for education measurement of teachers in 3 domains were 1) Knowledge: teachers’ knowledge and understanding was high at the level 2) Attributes: Teachers’ attitude towards the instruments construction and evaluation of education was good at the level and 3) Performance: teachers’ ability in instrument construction and evaluation for education was high at the level.

Article Details

Section
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จันทิมา จันทรประสาท, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, ยุวรี ผลพันธิน. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของครูโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสจักรในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 1577-1595.

จารุวรรณ ศิลปรัตน์. (2548). การพัฒนารูปแบบเสริมพลังการทำงานเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นนักวิจัยของครูอนุบาล. วิทยานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต (สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ธัญญรัศม์ จอกสถิตย์. (2553). โมเดลการพัฒนาการปฏิบัติงานครู: การประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินครูที่เน้นการปฏิบัติงานเป็นฐานและการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต(สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ปกรณ์ ประจันบาน. (2560, พฤษภาคม – สิงหาคม). การวิจัยและพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(35), 1-16.

ปานแก้ว แก้วจันทร์หล้า. (2556). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ลำปาง.

ปุณฑริกา น้อยนนท์. (2560, พฤษภาคม – สิงหาคม). การพัฒนารูปแบบการประเมินการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสาระวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(35), 57-72.

พินดา วราสุนันท์. (2554). การพัฒนาศักยภาพทางการประเมินในด้านการสร้างข้อสอบของครูประถมศึกษาโดยใช้เครือข่ายมิตรวิพากษ์. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

โรสนี จริยะมาการ และคณะ. (2559). การสร้างความสามารถในการประเมินของครูเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยของนักเรียน โดยใช้แนวคิดประเมินแบบเสริมพลังอำนาจและกระบวนการสอนโดยใช้การประเมินเป็นฐาน: การศึกษารายกรณี. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลีลาวดี จีระเสมานนท์. (2555). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กในอำเภอวังเหนือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

วิวัฒน์ อ้นน่วม และคณะ. (2559). รูปแบบการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,18(3), 292-302.

ศจี จิระโร. (2556). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสร้างข้อสอบของครูโดยการเสริมพลังอำนาจผ่านกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ. วิทยานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต (สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา). คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สมาน รังสิโยกฤษ. (2550). การปฏิรูปภาคราชการ: แนวคิดและยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: สวัสดิการ สำนักงาน ก.พ.

สุชีพ ชั้นสูง. (2558). การพัฒนารูปแบบการประเมินตนเองโดยใช้วิธีเสริมพลังอำนาจ เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการดำรงวิทยฐานะชำนาญการพิเศษสำหรับครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การประเมินการศึกษา). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2558). การพัฒนาสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของครูสังกัดกรุงเทพมหานครโดยใช้แนวคิดการจูงใจและการร่วมมือร่วมพลัง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,17(4), 14-25.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การประเมินการปฏิบัติการ: การประเมินการเรียนรู้แนวใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: เพลินสตูดิโอ.

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2552). เทคนิคการนิเทศ: ระบบพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษา (Mentoring). สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559, จาก https://panchalee.wordpress.com/2009/07/28/mentoring/

Blanchard, K, ed al. (1996). Empowerment take mare than a minute. San Francisco: Berrett-Kocher.

Conger, J. A., & Kanungo, R. N. (1988). The empowerment process: Integrating theory and practice. Academy Management Review, 13(3), 471-482.

Fetterman, D.M. (2001). Experiential Education and Empowerment Evaluation: Mars Rover Educational Program Case Example. Journal of Experiential Education (in press).

Kinlaw, D.C. (1995). The Practice of Empowerment: Making the Most of Human Competency. United State of America: Gower Publishing Limited.

Kreisburg, S. (1992). Transforming power: Domination, empowerment, and education. NY: State University of New York Press.

Tebbit, C. (1993). Demystifying organization empowerment. Journal of Nursing Administration. (23), 18-23.